Page 206 - kpiebook65063
P. 206

เมื่อรับโรงเรียนเข้ามาอยู่ในการกำกับดูแลแล้ว เทศบาลนครนครสวรรค์ได้สนับสนุนสถานที่

               สำหรับเงินทุนในการบริหารโรงเรียน โรงเรียนได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุน
               สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) และอาศัยการแบ่งปันกันในกลุ่มผู้สูงอายุในโรงเรียน

               เนื่องจากผู้สูงอายุในโรงเรียนที่มีฐานะดีก็จะให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน

                     ทั้งนี้ โรงเรียนสร้างสุขผู้สูงวัยเทศบาลนครนครสวรรค์ นั้น ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ

               ที่ผลักดันให้โครงการประสบผลสำเร็จ เนื่องมาจาก โรงเรียนสามารถนำผู้สูงอายุ ออกจากบ้าน
               มาทำกิจกรรมร่วมกันได้ เป็นการลดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ไม่ทำให้ผู้สูงอายุนั้น    ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
               มีอาการคิดมาก เมื่อต้องอยู่บ้านเฉย ๆ ทำให้มี อสม. เพิ่มขึ้น จากความรู้ที่ได้รับการโรงเรียน

               ทำให้มีบุคลากรในการลงพื้นที่เพื่อช่วยผู้สูงอายุอื่น ๆ ที่อยู่ติดกับบ้านมากขึ้น อีกทั้งความรู้ที่ได้
               ยังสามารถทำให้ผู้สูงอายุดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องมากขึ้น

               บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนอื่น ๆ ในการดำเนินงาน


                     ความสำเร็จของโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุสู่การเป็นเมืองผู้สูงอายุผ่านกิจกรรม
               เยี่ยมผู้สูงอายุและกิจกรรมโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงวัยเทศบาลนครนครสวรรค์เกิดจากบทบาท
               ในการเป็นผู้นำของเทศบาลนครนครสวรรค์ ซึ่งผู้บริหารเทศบาลนครนครสวรรค์แสดงบทบาท

               ที่ส่งเสริมโครงการดังกล่าว ดังนี้

                     1.  บทบาทในการเป็นผู้กระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ผู้บริหารเทศบาลนคร

               นครสวรรค์มีแนวทางที่ชัดเจนในการบริหารงานท้องถิ่นด้วยกลไกการประชุมปรึกษาหารือกับ
               ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน ซึ่งจะเห็นได้จากการรับฟังความคิดเห็นของผู้สูงอายุในพื้นที่และ

               รับฟังข้อเสนอแนะของผู้สูงอายุจากโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงวัยอาสนวิหารนักบุญอันนาจนสามารถ
               โอนย้ายโรงเรียนมาอยู่ในการกำกับดูแลของเทศบาลได้เป็นผลสำเร็จและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียน
               สร้างสุขผู้สูงวัยเทศบาลนครนครสวรรค์                                                    ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19


                     2.  บทบาทการประสานทรัพยากรในพื้นที่ ผู้บริหารเทศบาลนครนครสวรรค์ตระหนักดีว่า
               ทรัพยากรที่ใช้ในกิจกรรมของผู้สูงอายุต้องใช้จำนวนมาก ผู้บริหารเทศบาลต้องประสานทรัพยากร
               ที่มาจากภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด และผู้บริหารเทศบาลได้ประสานทรัพยากร

               กับหลายหน่วยงานผ่านการประชุมประจำเดือน อาทิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุข
               ภาพ (สสส) กองทุนผู้สูงอายุ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์

               อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนที่มีภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นต้น

                     3.  บทบาทการเป็นพี่เลี้ยงในการผลักดันโครงการ แม้ว่า โรงเรียนจะอยู่ในการกำกับดูแล

               ของเทศบาลนครนครสวรรค์ ผู้บริหารเทศบาลเลือกใช้วิธีให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียน




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   19
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211