Page 205 - kpiebook65063
P. 205

7.  ประสานงานหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่าง ๆ ในการจัดบริการด้านต่าง ๆ

           ตามกรอบยุทธศาสตร์ 5H ที่ผู้ป่วยติดเตียงมีปัญหาด้านนั้น ๆ เช่น จัดที่พักอาศัยให้มีความเหมาะสม
           และเอื้อต่อภาวะสุขภาพในผู้ป่วยติดเตียงที่มีปัญหาด้านที่พักอาศัย ทำราวกั้นเตียง
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   ทีมหมอครอบครัว และภาคีเครือข่าย
           เปลี่ยนสุขภัณฑ์จากนั่งยอง เป็นแบบชักโครก ฯลฯ

                 8.  ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ตามแผนการดูแลรายบุคคล โดยทีม PCT




                 9.  ฝึกทักษะการดูแลตามความต้องการเฉพาะรายของผู้สูงอายุติดเตียง เช่นการระบาย

           เสมหะด้วยการจัดท่านอน  การเคาะปอด  การให้อาหารทางสายยาง  การดูแลสายสวนปัสสาวะ
           การใช้รอกกะลา การใช้นาฬิกาพลิกชีวิต  และหมอสมุนไพร เป็นต้น

                 10. กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดูแลกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง  และปรับแก้ไขแผนการดูแล

           ผู้สูงอายุ ให้เหมาะสม กับปัญหาและความต้องการรายบุคคล

                 นอกจากโครงการจำแนกผู้สูงอายุออกเป็น 2 กลุ่มแล้ว ผู้บริหารเทศบาลนครนครสวรรค์

           ยังเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุผ่าน
           โครงการชื่อ โรงเรียนผู้สูงอายุ
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ

                 กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุของเทศบาลนครนครสวรรค์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ประสบ
           ความสำเร็จอย่างมาก โดยมีจุดเริ่มต้น จากการเริ่มต้นของกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มอาจารย์อรพิน
           แสงสว่าง ข้าราชการบำนาญ ที่มีความมุ่งมั่นทำประโยชน์ให้กับสังคม และได้ปรึกษาหารือกับ

           ภาคีเครือข่ายของตนเองโดยมี นายพีระพงศ์ นพนาคีพงษ์ จนสามารถก่อตั้งโรงเรียนสร้างสุข
           ผู้สูงวัย อาสนวิหารนักบุญอันนา  และแนะนำผู้สูงอายุให้เข้าร่วมจำนวนมาก ซึ่งกิจกรรมนี้

           เป็นกิจกรรมที่ดึงดูดผู้สูงอายุที่ติดสังคมให้ออกมาใช้ชีวิตในสังคมได้อีกครั้งหนึ่งและเข้ามาเรียนรู้
           ทักษะชีวิตแบบเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิต อาทิ หลักสูตรกฎหมาย
           สำหรับผู้สูงอายุ (พินัยกรรม) หลักสูตรออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

           หลักสูตรโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ หลักสูตรการลดอุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

                 หลังจากโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงวัยได้ดำเนินการไปแล้ว 5 รุ่น (นับถึงปี พ.ศ. 2565) ผู้บริหาร
           โรงเรียนเล็งเห็นถึงการหาภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้บริหารโรงเรียนจึงร่วมกับ

           เทศบาลนครนครสวรรค์ในการยกระดับโรงเรียนให้รองรับผู้สูงอายุได้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ผู้บริหาร
           เทศบาลนครนครสวรรค์จึงได้ทำความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนและรับโรงเรียนเข้าสู่การกำกับ

           ดูแลของเทศบาลพร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงวัยเทศบาลนครนครสวรรค์





        19     สถาบันพระปกเกล้า
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210