Page 110 - kpiebook65063
P. 110

“สถานที่ศูนย์สาธารณสุข ของเทศบาล เทศบาลจะมีศูนย์สาธารณสุข

                     ตั้งขึ้นมาเพื่อลดการแออัด ของคนไข้ในโรงพยาบาล นั้นคือใครเจ็บไข้ได้ป่วยเล็ก ๆ
                     น้อย ๆ เป็นแผลตามตัว ปวดหัวปวดท้องอาหารเป็นพิษก็ไม่ต้องไปเข้าคิว โรงพยาบาล

                     สามารถมาที่ศูนย์ สาธารณสุขของเทศบาล ได้เลย” (นาย ก, สัมภาษณ์ มีนาคม
                     2565)




                     เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์จัดทำศูนย์บริการชาวบ้านสองศูนย์ อยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
               เพื่อบริการชุมชน ศูนย์ DIC มีการบริหารจัดสรรงบประมาณจากสาธารณสุขประมาณปีละ

               200,000 บาทและศูนย์สาธารณสุขจะมีเงินส่วนตัวเป็นของตัวเอง และปีหนึ่งจะได้ยาจากโรงบาล
               จังหวัดเมื่อทางเทศบาลได้ทำการขอไปและบางครั้งสามารถขอยาจากสำนักงานสาธารณสุขได้

               ทางเทศบาลมีกองทุนสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) เป็นกองทุนที่ทำโครงการอะไรก็ได้
               แล้วนำส่วนนั้นทำเรื่องมาของบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) เป็นกองทุน
               ที่เทศบาลที่อุดหนุนรายหัวของพี่น้องประชาชนส่วนหนึ่งและเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ก็สมทบ

               อีกส่วนหนึ่งจนเป็นกองทุนและเอากองทุนนี้มาขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพตามระเบียบ
               ของกองทุนสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) และใช้ระยะเวลาของโครงการพัฒนาการ

               ให้บริการศูนย์บริการชุมชน Drop In Center: DIC 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 - 30 สิงหาคม
               พ.ศ. 2560 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานของโครงการศูนย์บริการชุมชน Drop In Center: DIC
               มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ถุงมือทางการแพทย์ เข็มฉีดเพื่อใช้สำหรับการตรวจเลือดเพื่อค้นหา

               เชื้อ HIV หรือเอดส์ และโรคที่เกี่ยวข้องที่อาจเกิดขึ้นได้ แบบสอบถามเกี่ยวกับผู้ป่วย อุปกรณ์
               ทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการตรวจ HIV รถสำหรับรับส่งผู้ป่วยที่ไม่สามารถมารับการรักษา

               ได้ด้วยตนเอง อาคารสถานที่บริการที่ได้มาตรฐานและ อุปกรณ์สำนักงานอื่น ๆ


               ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น                                                                    ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19


                     ภายหลังจากการดำเนินงานภายใต้ศูนย์บริการชุมชน Drop In Center ตลอดระยะเวลา
               ที่ผ่านมา พบว่าการดำเนินงานของศูนย์มีพัฒนาการขึ้นเสมอมา ประชาชนในพื้นที่มีความรู้

               ความเข้าใจ และให้การยอมรับในกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งพัฒนาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาสะท้อน
               ให้เห็นได้จากรางวัลพระปกเกล้า


                     มีการจัดตั้งชมรมแกนนำเพศทางเลือก ในการขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการการทำงาน
               อย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้ชื่อชมรมว่า “ชมรม MSM เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์” ซึ่งจัดตั้งให้เป็น

               กลุ่มองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (องค์กรชุมชน) ที่รวมกลุ่มจัดตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจกรรม




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   99
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115