Page 112 - kpiebook65063
P. 112

ปัญหาและอุปสรรค


                     1) ประชาชนที่มีความเสี่ยงไม่กล้าที่จะเข้าหาหรือรับการรักษาจากศูนย์บริการชุมชน (Drop

               In Center: DIC) เนื่องจากการอายหรือกลัวการที่พูดคุยหรือบอกกล่าวอาการของตัวเองให้กับ
               ผู้ดูแลรักษา และยากที่จะเปลี่ยนความคิดของคนกลุ่มนี้ แต่ได้มีการนำแกนนำรักร่วมเพศเข้ามา

               แก้ไขปัญหานี้โดยการลงพื้นที่เพื่อเข้าหาผู้ที่ความเสี่ยงและนำเข้าการรักษาอย่างถูกต้อง

                     2) ประชาชนบางส่วนคิดว่าการที่ศูนย์บริการชุมชน DIC นำเสนอเรื่องเพศสัมพันธ์
               ในการเรียนการสอน เป็นการสนับสนุนให้เยาวชนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร                    ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

                     3) มีเยาวชนเข้าร่วมน้อยและสถานที่ไม่เพียงพอต่อการให้คำแนะนำและอบรมของ

               ศูนย์บริการชุมชน DIC และมีประชาชนบางส่วนไม่ให้การร่วมมือย่างเต็มที่จึงเป็นปัญหาให้กับทาง
               ศูนย์ต้องนำไปแก้ไข

                     4) ศูนย์บริการชุมชน DIC อาจจะยังไม่กระจายแพร่หลายไปในทุกพื้นที่ จึงยังมีประชาชน

               บางส่วนไม่ทราบถึงรายละเอียดข้อมูลของโครงการศูนย์บริการชุมชน DIC อย่างแท้จริง การรับ
               การรักษาจึงเป็นไปอย่างไม่ทั่วทุกพื้นที่ตามที่ศูนย์บริการชุมชน DIC ได้ตั้งเป้าหมายไว้

                     5) ศูนย์บริการชุมชน DIC ต้องการที่จะให้คำแนะนำและอบรมให้เยาวชนและบุคคลทั่วไป
               ได้ทราบเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง และยังมีผู้คนที่อยู่ในเรือนจำที่ต้องได้รับการดูแล

               เช่นเดียวกันกับผู้คนที่อยู่ด้านนอก ผู้คนในเรือนจำก็อาจจะเป็นพาหะในการแพร่เชื้อโรคเอดส์ได้
               โดยการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัย และทางเทศบาลไม่มีอุปกรณ์พร้อมสำหรับ

               การตรวจเลือดทำให้การรู้ผลของการตรวจเลือดล่าช้า เพราะคุณหมอต้องเจาะเลือดเองแล้วนำไป
               ส่งให้กับโรงพยาบาลแล้วจึงจะทราบผลในเวลาต่อมา

                     6) ผู้ป่วยบางคนมีปัญหาในการเดินทางมารับการรักษาหรือรับยาที่ใช้ในการบรรเทาโรค

               ต่าง ๆ ด้วยตนเองทางศูนย์บริการชุมชน DIC จึงมีการจัดทำรถรับส่งผู้ป่วยและยาตามสถานที่    ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
               ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถรับการรักษาได้อย่างทั่วถึงที่สุด


               ปัจจัยความสำเร็จ


               การวางแผนที่ดี

                     การวางแผนจัดทำโครงการศูนย์บริการชุมชน (Drop In Center: DIC) มีการต่อยอดมาจาก

               โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (DIC-Cluster) การจัดตั้งโครงการเกิดจาก
               นางสาว ข (ผู้ดูแลโครงการ) พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษที่ทำงานให้กับสาธารณสุขของ

               เทศบาลกาฬสินธุ์ ให้ข้อมูลว่า



                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   101
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117