Page 117 - kpiebook65063
P. 117

หากพิจารณาสัดส่วนของประชากรในแต่ละช่วงวัยจะพบข้อมูลสำคัญ ที่สะท้อนความเป็น

           สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2564 มีประชากรที่อยู่ในวัยผู้สูงอายุร้อยละ 28.75 ของ
           ประชากรทั้งหมด โดยมีทั้งกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับลูกหลาน กลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยเพียงลำพัง
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   กับหลาน สำหรับกลุ่ม3 กลุ่มหลังเป็นกลุ่มที่ทางเทศบาลตำบลแม่สะเรียงให้ความสำคัญเป็นลำดับ
           กลุ่มผู้สูงอายุอยู่กับผู้สูงอายุด้วยกันเองส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเกษียณ  กลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่


           แรกๆ เนื่องจากความสามารถในการช่วยเหลือตนเองได้ทันเวลามีน้อยกว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่

           กับลูกหลาน การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับวิสัยทัศน์เดิมและวิสัยทัศน์ใหม่ของเทศบาล
           ตำบลแม่สะเรียง วิสัยทัศน์เดิมของเทศบาลตำบลแม่สะเรียงคือ “วัฒนธรรมเด่น เน้นบริการ

           บริหารงานโปร่งใส  ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมพัฒนาคุณภาพชีวิต” และวิสัยทัศน์ในปัจจุบัน
           “เทศบาลตำบลแม่สะเรียงเป็นเมืองแห่งความสุข มั่นคง ด้วยวิถีชีวิตที่ยั่งยืน” วิสัยทัศน์ของ
           ผู้บริหารชุดเดิมและชุดปัจจุบันมีจุดเน้นที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะ

           อย่างยิ่งการเข้าถึงบริการสาธารณะของคนทุกช่วงวัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคนในพื้นที่
           เน้นการทำงานบนความเชื่อที่ว่า “ไม่มีใครรักท้องถิ่น เท่าคนในท้องถิ่น ไม่มีใครรู้ปัญหาในท้องถิ่น

           เท่ากับคนในท้องถิ่น”  ดังนั้นการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลต้องสามารถแก้ปัญหาของคนใน
           ท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
                 นอกจากนั้นทุนวัฒนธรรมที่สำคัญของเทศบาลตำบลแม่สะเรียงคือการอยู่ร่วมกันของ
           ทุกศาสนาอย่างสงบสุข การจัดกิจกรรมทางศาสนาที่เปิดโอกาสให้คนทุกคนไม่ว่าจะนับถือศาสนา
           ไหนก็ตามสามารถเข้าร่วมกันได้ การมีการจัดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ของคนทุกศาสนา ทำให้

           ประชาชนในตำบลแม่สะเรียงมีความสามัคคี การร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน และ
           พร้อมเป็นจิตอาสาช่วยเหลือคนในชุมชน ซึ่งทุนทางวัฒนธรรมนี้เป็นความโดดเด่นที่สำคัญ

           ในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของคนในชุมชน


           เส้นทางนวัตกรรม


                 นวัตกรรม STC (Service to Care) หรืออาสาอยู่เคียงแม่สะเรียงอยู่สุขนั้นเป็นนวัตกรรม
           ที่มีการดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่มีความเป็น

           พลวัตร หรือ เป็นนวัตกรรมที่มีชีวิต โดยจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมเกิดจากการที่โครงสร้างทางสังคม
           ของตำบลแม่สะเรียงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์โดยจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกิน

           ร้อยละ 20 ในปี 2558 คิดเป็น 24.7 % ของประชากรทั้งหมดในปี 2559 คิดเป็น 28.32 % ของ
           ประชากรทั้งหมด







        10     สถาบันพระปกเกล้า
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122