Page 120 - kpiebook65063
P. 120
ประกอบกับประชากรแฝงในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ครอบครัวข้าราชการที่นำบิดามารดา
มาดูแล กลุ่มชาติติพันธ์ ฯลฯ และการเกิดขึ้นของนโยบายเกี่ยวกับระบบบริการดูแลระยะยาว
ด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) แต่ขั้นตอนในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
มีขั้นตอนและระเบียบที่ยุ่งยากทำให้ไม่สามารถให้บริการกับผู้สูงอายุที่มีความจำเป็นได้ ส่งผลให้
ผู้สูงอายุบางรายยังไม่สามารถเข้าสู่ระบบ LTC ได้ และข้อจำกัดด้านการใช้รถยนต์ของเทศบาล
เพื่อให้บริการรับ-ส่งผู้สูงอายุไปโรงพยาบาลทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงบริการรถรับส่งได้ถึงแม้
จะมีความจำเป็น โดยวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการจัดทำนวัตกรรม STC คือการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุที่ดีการช่วยเหลือผู้สูงอายุทุกคนในตำบลแม่สะเรียงให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้ ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
โดยเริ่มจากบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขเป็นจุดแรกเพราะจะทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตทั้งในมิติด้านกาย คือผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง ด้านอารมณ์หมายถึง ผู้สูงอายุอารมณ์ดี
มีความสุข ด้านสังคม คือผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในสังคมแห่งความเกื้อกูล สังคมผู้สูงอายุ ด้านปัญญา
คือ ผู้สูงอายุมีภูมิปัญญาท้องถิ่นบนฐานของวัฒนธรรม สำหรับเส้นทางพัฒนานวัตกรรม STC
สามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ดังนี้
แผนภาพแสดงเส้นทางพัฒนานวัตกรรม STC ของเทศบาลตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี 2558-2564 ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
สถาบันพระปกเกล้า 109