Page 107 - kpiebook65063
P. 107

การเข้าถึงบริการ การมีส่วนร่วมดำเนินงาน การให้บริการอย่าง โปร่งใสตรวจสอบได้ การติดตาม

           การทำงานและหาข้อบกพร่องในการทำงานด้วยการประชุมประจำเดือน เพื่อหาวิธีทำการแก้ไข
           ปรับปรุงสำรวจความพึงพอใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ สำนักงาน
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   ในประเทศไทย รวมทั้งในเขตเทศบาลและในจังหวัดกาฬสินธุ์โดยเฉพาะกลุ่มประชากร เป้าหมาย
           สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ รวมถึงประชาชนทั้ง 38 ชุมชน

                 ในส่วนที่ 2 ด้วยในปัจจุบันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ยังคงทวีความรุนแรงสูงขึ้น



           คือ ชายผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง พนักงานบริการหญิง ผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีด
           และผู้ต้องขัง เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสในการแพร่เชื้อ HIV สูง จากข้อเท็จจริงที่ผ่านมาพบว่า

           ประชากรกลุ่มเป้าหมาย เข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารความรู้เรื่อง โรคเอดส์และอุปกรณ์การป้องกันตัว
           การเข้าไม่ถึงสถานบริการของภาครัฐในการปรึกษาเพื่อตรวจหาเชื้อ HIV ทำให้ไม่รู้สถานการณ์

           การติดเชื้อของตนเอง และมีการแพร่เชื้อไปสู่คู่นอน โดยไม่รู้ตัว ด้วยการมีเพศสัมพันธ์แบบ
           ฉาบฉวย ทำให้เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้พัฒนารูปแบบการเข้าถึงระบบ
           บริการ ในการแก้ไขปัญหาเอดส์โดยมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายที่ว่า ไม่มีการติดเชื้อรายใหม่ ไม่มี

           การถูกรังเกียจกีดกัน และไม่มีผู้เสียชีวิต เน้นประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้เข้าถึงกระบวนการ
           บริการในการตรวจรักษา ที่ได้รับความสะดวก รวดเร็ว เป็นกันเอง เบ็ดเสร็จ ลดขั้นตอน ได้รับทั้ง
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
           ความรู้ มีอุปกรณ์การป้องกัน เชื่อมโยงให้เข้าสู่การตรวจหาเชื้อ HIV มีการคัดกรอง โรคติดต่อทาง
           เพศสัมพันธ์ และส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรักษา โดยมีศูนย์บริการชุมชน DIC หรือ Drop in
           Center เป็นศูนย์ให้บริการระหว่างชุมชนและสถานบริการของรัฐในเขตเทศบาล โดยยกระดับ

           คุณภาพงานบริการศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ โดยเน้นการบริการให้คำปรึกษา
           อย่างเป็นกันเอง ด้วยความสะดวกรวดเร็ว รักษาความลับของผู้มารับบริการ และการตรวจเลือด

           วันเดียวทราบผล ตลอดจนกระบวนการ “การเข้าถึง-เข้าสู่บริการตรวจหา-รักษา-คงอยู่ในระบบ”
           และเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โดยที่ผู้มารับบริการไม่ต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์


                 ในส่วนการดำเนินกิจกรรมขั้นต่อไป คือการดำเนินการของกิจกรรม ในส่วนนี้ชุมชน
           ต้องดำเนินการ 2 ส่วนหลัก ๆ โดยพิจารณาดำเนินการจาก 1) การลงพื้นที่ในการขับเคลื่อน
           กิจกรรมร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สถานศึกษา สถานเริงรมย์ ร้านนวดเพื่อสุขภาพ และ

           อื่น ๆ ที่แกนนำ MSM ได้นัดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้บริการเจาะเลือด ให้คำปรึกษา ให้ความรู้
           เฉพาะด้าน เจาะเลือดทราบผลวันเดียว ในสถานที่ต่าง ๆ ในงานที่สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ เช่น

           จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์แจกถุงยางอนามัยกับวัยรุ่นในขบวนแห่ ประเพณี
           วันสงกรานต์ ประเพณีวันลอยกระทง ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา เป็นต้น และ 2 ) ในส่วนของ
           ผู้ดูแลศูนย์และคณะทำงานจะลงพื้นที่และสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายอยากที่จะรับบริการของ





          9    สถาบันพระปกเกล้า
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112