Page 111 - kpiebook65063
P. 111

ให้ความรู้ การให้ข้อมูลข่าวสาร การช่วยเหลือและการรณรงค์เรื่องเอดส์แก่ผู้ที่สนใจ ไม่จำกัดเพศ

           วัย โดยเน้นกับสมาชิกกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และสาวประเภทสอง เพื่อที่จะทำงาน
           ส่งเสริมสุขภาพทางเพศ การป้องกันการติดเชื้อ HIV และด้านสิทธิทางเพศในกลุ่มผู้มี
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   แรงจูงใจ ให้กลุ่มเป้าหมายอยากเข้าถึงบริการในรูปแบบต่าง ๆ จากผลการดำเนินงาน 1 ปี
           ความหลากหลายทางเพศในระดับเขตพื้นที่เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์

                 มีการจัดให้บริการทั้งเชิงรับและเชิงรุกที่เป็นเลิศ โดยมีกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์ และทำให้เกิด



           11 เดือน กลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการ และมาเข้าร่วมกิจกรรมฯ ทั้งหมด 450 ราย ยินยอม
           เจาะเลือด 232 ราย พบมีผลเลือดที่ผิดปกติ 13 ราย และขึ้นทะเบียนเข้าสู่กระบวนการรักษา

           ตามระบบ ทั้ง 13 ราย

                 ผู้ป่วยโรควัณโรคในปี 2560-2561 ก่อนการจัดตั้งศูนย์บริการชุมชน Drop In Center

           มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 629 ราย ผู้ป่วยโรควัณโรคในปอด 521 ราย นอกปอด 106 ราย เป็นผู้ป่วย
           ที่เดินทางเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์เอง ทั้งหมด 629 ราย แต่หลังจากมีการจัดตั้ง

           ศูนย์ DIC มีผู้ป่วยโรควัณโรคในปี 2562-2563 ทั้งสิ้น 744 รายเป็นผู้ป่วยโรควัณโรคในปอด
           605 ราย นอกปอด 132 ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้จากการค้นหาเชิงรุกของ ศูนย์ DIC จำนวนทั้งสิ้น
           166 ราย มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคเอดส์ในปี 2560-2561 ก่อนการจัดตั้งศูนย์บริการชุมชน
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
           DIC มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 74 ราย เป็นผู้ป่วยที่เดินทางเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์เอง
           ทั้งหมด74 ราย แต่หลังจากมีการจัดตั้งศูนย์บริการชุมชน DIC มีผู้ป่วยเอดส์ ในปี 2562-2563

           ทั้งสิ้น 118 ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้จากการค้นหาเชิงรุกของศูนย์บริการชุมชน DIC จำนวนทั้งสิ้น
           13 ราย

                 จากข้อมูลที่กล่าวมา เห็นได้ว่าศูนย์บริการชุมชน DIC เป็นนวัตกรรมที่แก้ไข ปัญหาการเข้าถึง

           บริการของรัฐด้านสาธารณสุข อีกทั้งยังเป็นบริการสาธารณะที่สร้างความเท่าเทียม และ
           ความเสมอภาคทางเพศโดยใช้ต้นทุนในการดำเนินงานที่ต่ำ แต่ได้รับผลตอบแทนที่มีมูลค่า และ
           คุณค่าที่สูง ภายใต้มาตรฐานที่เป็นสากลของการพัฒนาศูนย์บริการชุมชนที่องค์กรปกครอง

           ส่วนท้องถิ่นทำได้และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ทั้งในด้านการมี
           สุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ความเท่าเทียมกันทางเพศ การสร้างความสงบสุข ยุติธรรม

           อีกทั้งยังสามารถที่จะเป็นแบบอย่างหรือโมเดลให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ
           นำแนวทางนี้ไปปรับใช้โดยมีมาตรฐานของศูนย์บริการชุมชน











        100    สถาบันพระปกเกล้า
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116