Page 106 - kpiebook65063
P. 106

ความสัมพันธ์ของคนในละแวกเดียวกัน ค่อนข้างที่จะห่างเหิน และสร้างความเสมอภาคทางเพศ

               โดยเฉพาะกับเพศทางเลือกที่ปัจจุบันในที่ที่ไม่ใช่เมืองหลวงอาจจะยังไม่ยอมรับเป็นที่มากนัก
               ทำให้เหล่าเพศทางเลือกค่อนข้างที่จะ ไม่ค่อยกล้าที่จะเข้าสังคมหรือเวลามีปัญหาทางเพศก็ไม่ค่อย

               กล้าที่จะปรึกษาใครโครงการนี้จึงตอบโจทย์ให้กับชาวเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์โดยเป็นสื่อกลาง
               ระหว่างโรงพยาบาลที่อาจจะมีผู้ป่ายหนาแน่นและการเข้าถึงการรักษาที่ยังไม่ครอบคลุมกับผู้ป่วย
               กับผู้ป่วยโรคติดต่อ โดยเฉพาะผู้ป่ายโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค และโรคติดต่ออื่น ๆ

               ซึ่งทั้งนี้ในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีกลุ่มเพศทางเลือกค่อนข้างสูง เนื่องจากสังคมวัฒนธรรม
               ที่เปลี่ยนแปลงไป และการที่ประชากรที่เป็นเพศทางเลือกเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอย่างมากทำให้อาจ  ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

               เกิดปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงระบบการรักษา โดยเฉพาะอุปสรรคด้านทัศนคติของผู้คนที่มี
               ต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กับคนรอบข้าง เพื่อความสงบสุขของสังคม ชุมชน ครอบครัวและ
               เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์



               กระบวนการดำเนินงาน


                     โครงการศูนย์บริการชุมชน (Drop In Center: DIC) มีขั้นตอนที่ต้องเตรียมตัวไปในขั้น
               ต่าง ๆ โดยเริ่มจากการวางแผนโครงการ เนื่องด้วยเป็นการริเริ่มโครงการใหม่ในเชิงระบบ

               ของหน่วยบริการสาธารณสุข จากกระบวนงานเชิงตั้งรับเป็นกระบวนงานเชิงรุก โดยมีภาคีเครือข่าย
               ความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนในการทำงาน เริ่มต้นจากการลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือและ

               นำไปสู่การปฏิบัติตามภาระหน้าที่ของแต่ละหุ้นส่วนความร่วมมือ ซึ่งมีเครือข่ายรวม 12 องค์กร
               ได้แก่ ชมรม Queen จังหวัดขอนแก่น ชมรม MSM เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ สภาเด็กและเยาวชน
               เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ประธานชุมชนในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ประธาน อาสาสมัคร

               สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ คลินิกเพื่อนใจวัยรุ่นโรงพยาบาล
               กาฬสินธุ์ คลินิกวัณโรคและโรคเอดส์โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เครือข่ายเอดส์อำเภอเมือง และอำเภอ

               ดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์และสาธารณสุข       ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
               จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ร่วมกันขับเคลื่อนงานจนประสบความสำเร็จในระดับประเทศ โดยใช้มาตรฐาน
               การจัดรูปแบบกระบวนการดำเนินงานจากองค์กรอนามัยโลก ด้วยชุดบริการ RRTTR (Stop TB

               and AIDs through RRTTR (STAR) หรือเรียกเป็นภาษาทางการ คือ การดำเนินการตามหลัก
               กระบวนการ “การเข้าถึง-เข้าสู่บริการ-ตรวจหา-รักษา-คงอยู่ในระบบ” โดยผู้รับบริการไม่ต้องไป

               โรงพยาบาล โดยศูนย์บริการชุมชน DIC มีกลยุทธ์การทำงาน

                     ขั้นต่อมาของการทำงานคือ การเตรียมการวางแผน ซึ่งมีการดำเนินการ 2 ส่วนหลัก คือ
               การดำเนินการรับส่งผู้ป่วยโดยพิจารณาความผิดพลาดของการให้บริการ และความรวดเร็วแม่นยำ






                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   9
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111