Page 105 - kpiebook65063
P. 105
การที่สถาบันครอบครัวและชุมชนมีความเข้าใจและให้การสนับสนุนจึงมีความสำคัญและ
ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ติดเชื้อ HIV โดยชุมชนมีบทบาทสำคัญและเป็นพลังในการขับเคลื่อน
การยุติปัญหา HIV โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ที่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วย HIV ให้กับคนในชุมชน ภาคประชาสังคมร่วมการจัด
โดยชุมชนสามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้หลายวิธีตั้งแต่สร้างความตระหนักและความเข้าใจ
บริการการเข้าถึงกลุ่มผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงในชุมชนให้ได้รับการตรวจเอชไอวี และเชื่อมต่อบริการ
ไปยังสถานบริการสุขภาพภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการเข้าสู่การบริการป้องกันและดูแลรักษา เป็นต้น
ซึ่งการร่วมมือร่วมใจกันของชุมชน จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการป้องกันและดูแลรักษา
ผู้ติดเชื้อ HIV (กรมควบคุมโรค, 2562)
ศูนย์บริการชุมชน (Drop In Center: DIC) ริเริ่มจากศูนย์บริการชุมชน (DIC-Cluster)
เป็นโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และยังมีการจัดระบบบริการดูแล
ผู้ติดเชื้อ HIV โดยมีกระบวนการที่ครอบคลุมชุดบริการ RRTTR (Reach-Recruit-Test-Treat-
Retain) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงการดำเนินงานของศูนย์บริการชุมชน DIC ทั้งที่ดำเนินการ โดย
ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
ศูนย์บริการชุมชน (Drop In Center: DIC) เป็นภาคีเครือข่ายหน่วยบริการในพื้นที่และ
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
ภาคีเครือข่ายหน่วยสนับสนุน รวมทั้งภาคีเครือข่ายหน่วยวิชาการ เพื่อให้เกิดการบูรณาการ
ด้านการวางแผน การบริหารจัดการ การดำเนินงานการใช้ทรัพยากร และการติดตามประเมินผล
อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามนโยบายยุติปัญหาเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ
วัณโรค ของประเทศโดยผู้ดูแลโครงการศูนย์บริการชุมชน DIC คือ นางสาว ข พยาบาลวิชาชีพ
ชำนาญการพิเศษ ณ ศูนย์สาธารณสุขของเทศบาล ได้มีการจัดตั้งโครงการขึ้นเพื่อช่วยเหลือ
ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV หลายคนมองว่าโรคเอดส์และวัณโรค เป็นโรคที่ทุกคนตระหนักและพึงระวัง
ซึ่งโรคเอดส์เป็นไวรัสชนิดหนึ่ง ยังมีการแพร่เชื้อในปัจจุบันจึงมีการควบคุม และป้องกันเพื่อรักษา
โดยมีศูนย์สาธารณสุขเป็นศูนย์บริการชาวบ้านของศูนย์เทศบาลกาฬสินธุ์ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อลด
ความแออัดของคนไข้ในโรงพยาบาล ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วต่อการรักษาต่าง ๆ การทำงาน
ของศูนย์ศูนย์บริการชุมชน DIC มีการทำงานเชิงรุก กล่าวคือ มีการลงพื้นที่เข้าหาผู้ป่วยและดูแล
ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
โครงการศูนย์บริการชุมชน DIC มีจุดประสงค์และเป้าหมายสำคัญเพื่อที่จะศึกษาสภาพ
ปัญหาและแนวทางการให้บริการของศูนย์บริการชุมชนและพัฒนาศูนย์บริการชุมชนและศึกษา
ผลการดำเนินงานโดยลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นระหว่างคนในสังคม โดยเฉพาะสังคมเมือง
เพราะคนในสังคมเมืองนั้นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างคนในชุมชนค่อนข้างน้อย และ
9 สถาบันพระปกเกล้า