Page 84 - kpiebook65062
P. 84

ออกแบบอาคารรูปแบบตะวันตกอื่นๆ ที่มิใช่แบบทิวดอร์ที่รื้อฟื้นขึ้นใหม่ได้เช่นกัน ดังปรากฏในตำหนัก
                      ใหญ่ วังเทวะเวสม์ และอาคารสโมสร ราชกรีฑาสโมสร เป็นต้น และที่สุดแล้วอาคารทุกหลังก็ปรากฏ
                      ความรู้ความเข้าใจในสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนคติความเชื่อ แบบแผนความเป็นอยู่ของไทย ดังปรากฏ

                      ในการวางผังอาคารแบบมีเฉลียงรอบ การทำหลังคาผืนใหญ่สูงชัน ทิ้งชายคายื่นยาว การทำห้องพระ
                      ไว้เหนือที่เทียบรถยนต์ เป็นต้น


                            ในช่วงรัชกาลที่ ๗ นายฮีลีย์เป็นทั้งสถาปนิกและนักธุรกิจ ดำเนินกิจการบริษัทสยามอาคีเต๊กซ์
                      อิมปอร์ตสืบมา นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานว่านายฮีลีย์ได้ลงทุนในกิจการอสังหาริมทรัพย์
                      สร้างโรงภาพยนตร์โอเดียนขึ้นที่บริเวณถนนเจริญกรุง ใกล้หัวถนนเยาวราช นอกจากนี้ยังสร้างตึกแถว

                      ให้เช่าจำนวนประมาณ ๒๐ คูหา ในบริเวณใกล้เคียงกับโรงภาพยนตร์อีกด้วย

                            ในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกหลายแห่งในประเทศไทย โดยอ้างว่า

                      จะขอใช้ไทยเป็นทางผ่านไปทำสงครามมหาเอเชียบูรพาในพม่าและมลายู ต่อมาในวันที่ ๑๐ ธันวาคม
                      รัฐบาลไทยประกาศให้ความร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่น และประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
                      ในวันเดียวกันนั้นเอง นายฮีลีย์ก็ถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ในบ้านที่ซอยเทียนเซี้ยง ถนนสาธร จนถึงวันที่

                      ๒๓ ธันวาคม จึงถูกย้ายไปคุมขังที่ค่ายกักกัน มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นเวลา
                      เกือบสองปี จนถึงราวเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖ ทางการไทยเห็นว่านายฮีลีย์เป็นสถาปนิก

                      จึงมอบหมายให้ออกแบบร่างสำหรับโครงการโรงพยาบาลของรัฐบาล นายฮีลีย์ต่อรองว่าการทำงาน
                      ออกแบบในค่ายกักกันนั้นไม่สะดวก ในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ นายฮีลีย์จึงได้ออกจากค่าย
                      มาทำงานอยู่ที่บ้านเลขที่ ๘๓ ซอยนานาเหนือ โดยมีตำรวจเฝ้าคุมตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นเวลาอีกเกือบ

                      สองปี ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๘๘ ได้ย้ายไปอยู่บ้านที่จังหวัดสมุทรสงคราม จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ ๒
                      ยุติลง นายฮีลีย์จึงได้รับอิสรภาพ ๒๑


                            เมื่อสงครามยุติลง นายฮีลีย์ได้พยายามรื้อฟื้นกิจการ ตลอดจนทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ตนเคยมีในช่วง
                      ก่อนสงคราม โดยในวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๑ นายฮีลีย์ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการควบคุม

                      และจัดการกิจการทรัพย์สินของคนต่างด้าวบางจำพวกในภาวะคับขัน ขอรับเงินชดเชยแทนทรัพย์สิน
                      ที่สูญเสียไป ได้แก่ หุ้นในกิจการต่าง ๆ เครื่องเรือน เครื่องใช้ รถยนต์ เรือยนต์ ปืนพก เงินสด เงินฝาก
                      ตลอดจนค่าเช่าโรงภาพยนตร์และตึกแถว รวมเป็นเงินทั้งสิ้นถึง ๒,๑๙๔,๖๙๗ บาท ๘ สตางค์นอกจาก

                      นี้ยังขอรับอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ได้แก่โรงภาพยนตร์โอเดียนและตึกแถวคืนจากทางการอีกด้วย ๒๒

                            นายฮีลีย์ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ สิริอายุได้ ๗๑ ปี ๒๓
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89