Page 83 - kpiebook65062
P. 83

บริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์ต (Siam Architects Import Co.) เพื่อเป็นนายหน้าค้าสินค้านำเข้าจาก
                   ต่างประเทศ เช่น รถยนตร์ สุรา เป็นต้น  แม้สำนักงานสถาปนิกของนายฮีลีย์จะมีขนาดเล็ก มีบุคลากร
                                                    ๑๘
                   ประจำไม่เกินสองคน แต่ก็สามารถดำเนินกิจการอยู่มาได้ถึงสามสิบกว่าปี ตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาลที่ ๖

                   ถึงช่วงต้นรัชกาลที่ ๙ อันเป็นช่วงเวลาที่วงวิชาชีพสถาปนิกในประเทศไทยค่อยๆ ก่อตัวขึ้นโดยลำดับ

                         เมื่อแรกตั้งบริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ นายฮีลีย์อายุได้ราว ๓๔ ปี และอยู่เมืองไทยมาแล้วราว ๖ ปี

                   โดยรับราชการในตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนหัตถกรรมราชบุรณะ ทั้งยังมีโอกาสได้ออกแบบอาคาร
                   สำคัญ ๆ ดังกล่าวมาแล้ว นายฮีลีย์จึงน่าจะมีสถานะทางสังคมที่สูง มีความสัมพันธ์กับเจ้านายและ
                   ขุนนางชาวสยาม อันจักทำให้นายฮีลีย์ได้ออกแบบอาคารประเภทที่พักอาศัยที่สำคัญหลายหลัง เช่น

                   ตำหนักจักรพงษ์ หัวหิน (พ.ศ. ๒๔๕๖)  พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระราชวังสนามจันทร์
                   (พ.ศ. ๒๔๕๖)  ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวศม์ (พ.ศ. ๒๔๕๘) บ้านมนังคศิลา (พ.ศ. ๒๔๖๕) และตำหนัก

                   ทิพย์ (พ.ศ. ๒๔๗๖) เป็นต้น  ส่วนอาคารสาธารณะที่เป็นผลงานนายฮีลีย์ เท่าที่ปรากฏหลักฐานขณะนี้
                   ได้แก่ อาคารสโมสร ราชกรีฑาสโมสร (พ.ศ. ๒๔๕๘) อาคารบริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์ต
                   (พ.ศ. ๒๔๗๐) และอาคารสยามสมาคม (พ.ศ. ๒๔๗๑) เท่านั้น


                         นายฮีลีย์มีความนิยมในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบทิวดอร์ (Tudor Revival)  ดังปรากฏใน
                   ผลงานประเภทอาคารพักอาศัยเกือบทั้งหมด อาคารโรงเรียนหัตถกรรมราชบุรณะ และอาคารบริษัท

                   สยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์ต  ความนิยมนี้น่าจะเป็นผลมาจากการศึกษาที่ราชวิทยาลัยศิลป (Royal
                   College of Art) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ นายฮีลีย์เรียนวิชาสถาปัตยกรรมกับศาสตราจารย์
                   อาร์เธอร์ เบเรสฟอร์ด ไพท์ (Arthur Beresford Pyte) และเรียนวิชาออกแบบและการตกแต่ง

                   (Design & Ornament) กับศาสตราจารย์วิลเลียม เลธาบี (William Lethaby)  ผู้มีบทบาทสำคัญ
                                                                                      ๑๙
                   ในการพัฒนารูปแบบ Arts and Craft Movement ในประเทศอังกฤษ อันเป็นปฏิกิริยาต่อ

                   ความฟูมฟายของสถาปัตยกรรมวิคทอเรียน และระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในการก่อสร้าง
                   ตามแนวความคิดของวิลเลียม มอร์ริส (William Morris) และจอห์น รัสกิน (John Ruskin)
                                                                                                      ๒๐
                   โดยรื้อฟื้นรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโบราณของอังกฤษเอง ก่อสร้างโดยฝีมือช่างอันละเอียดประณีต

                   หากแฝงงานระบบและโครงสร้างสมัยใหม่ไว้ภายใน ดังปรากฏชัดในการตกแต่งผนังภายนอกอาคาร
                   ด้วยไม้ให้ดูคล้ายโครงสร้างครึ่งไม้ครึ่งปูน (half-timbering) ของสถาปัตยกรรมแบบทิวดอร์ ทั้งที่

                   โครงสร้างที่แท้จริงเป็นโครงสร้างเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็กสมัยใหม่ที่ซ่อนอยู่ภายใน

                         ความนิยมในสถาปัตยกรรมแบบทิวดอร์ที่รื้อฟื้นขึ้นใหม่นี้ ทำให้ผลงานสถาปัตยกรรมของ

                   นายฮีลีย์มีแนวทางที่ค่อนข้างชัดเจน ต่างไปจากงานของกลุ่มช่างสถาปนิกชาวอิตาเลียนในสยาม
                   ที่ผลิตผลงานจำนวนมากกว่า และมีรูปแบบสถาปัตยกรรมอันหลากหลาย อย่างไรก็ดี นายฮีลีย์สามารถ




               2     สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88