Page 81 - kpiebook65062
P. 81
นายชาลส์ เบเกอแลง (Charles A. Béguelin)
นายชาลส์ เบเกอแลง (Charles A. Béguelin) เป็นสถาปนิกชาวสวิส เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑
ที่เมืองตราเมอลอง (Tramelan) สำเร็จการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเทคนิค
นครมิวนิค (Technische Universität München) ประเทศเยอรมนี ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ นายเบเกอแลง
เดินทางมาสู่สยามเพื่อทำงานให้กับบริษัทเบอร์ลิ (Berli & Co.) เป็นสถาปนิกและวิศวกรประจำ
เหมืองแร่ที่บริษัทเบอร์ลิได้รับสัมปทานที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมานายเบเกอแลงลาออกจาก
๙
บริษัทเบอร์ลิ และเข้ารับราชการที่กรมทดน้ำ ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้ย้ายมารับราชการเป็นนายช่าง
๑๐
กองวิศวกรรม กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย มีผลงานเป็นที่น่าพอใจแก่ราชการ ทั้งยังมีงาน
ออกแบบส่วนตัว คืออาคารพักอาศัยของเจ้านายและผู้มีฐานะในพระนครเป็นจำนวนมาก จนถึง
พ.ศ. ๒๔๗๖ เมื่อรัฐบาลสยามเริ่มปลดหรือไม่ต่อสัญญาจ้างข้าราชการต่างประเทศ นายเบเกอแลง
ก็ยังคงรับราชการอยู่ต่อ โดยโอนย้ายมาเป็นนายช่างใหญ่ กองสถาปัตยกรรม กรมโยธาเทศบาล จนถึง
๑๑
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ จึงขอลาออกจากราชการ จากนั้นนายเบเกอแลงได้พาภรรยาและธิดา
สามคนเดินทางกลับสวิส ไปใช้ชีวิตที่กรุงเบิร์น ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมต่อมา
และถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ๑๒
ใน พ.ศ. ๒๔๗๐ นายเบเกอแลงได้รับมอบหมายให้ออกแบบอาคารศาลและโรงเรียนกฎหมาย
ให้ทันสมัยทัดเทียมมาตรฐานศาลในทวีปยุโรป ได้แสดงความเห็นของตนต่อสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ
เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ดังความในลายพระหัตถ์ที่ทรงสรุปความนั้น สะท้อนแนวทาง
ในการออกแบบของนายเบเกอแลงได้อย่างน่าสนใจ ความว่า
“ฉันได้พบนายเบเกอแลง ซักไซ้ฟังความคิดดูแล้ว เห็นว่ามีเค้าความรู้สึกในการที่จะต้อง
ออกแบบให้งดงามภาคภูมิสมควรแก่เรื่อง แต่กล่าวว่าถ้าจะให้ออกแบบเป็นลายไทยแล้ว ไม่สามารถ
ทำได้ หรือจะให้ออกแบบเป็นลายฝรั่งอย่างคลาสสิกอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ไม่รับทำ เพราะเป็นการ
ฝืนนิสัย ไม่ชอบที่จะทำ แต่ถ้าให้ทำเป็นแบบมอเดิร์นแล้ว ยินดีที่จะทำ” ๑๓
ผลงานสถาปัตยกรรมในสยามของนายเบเกอแลงจึงมีรูปแบบที่เป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่
มากกว่าของช่างฝรั่งคนอื่นๆ มักลดทอนเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมให้เหลือน้อยที่สุด และออกแบบ
อาคารตามประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก มากกว่าการมุ่งใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยม
0 สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ