Page 82 - kpiebook65062
P. 82

นายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey)



                            นายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey) เกิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๓ ที่เมืองฮัลล์
                      (Hull บางครั้งเรียกชื่อเต็มว่า Kingston-upon-Hull) แคว้นยอร์กเชียร์ (Yorkshire) ประเทศอังกฤษ
                      บิดาชื่อแซมวล จอร์จ ฮีลีย์ (Samuel George Healey)  สันนิษฐานว่าในชั้นต้นนายฮีลีย์คงได้เข้า
                                                                      ๑๔
                      ศึกษาวิชาศิลปะที่โรงเรียนศิลปะประจำเมืองฮัลล์ (Kingston-upon-Hull Municipal School of Art)
                      และมีความรู้ความชำนาญพอสมควร จนได้รับคัดเลือกให้เป็นครูผู้ช่วยสอนวิชาศิลปะ (Art Assistant)

                      ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๖

                            ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ นายฮีลีย์ได้เข้าศึกษาต่อในราชวิทยาลัยศิลป (Royal College of Art)

                      กรุงลอนดอน โดยได้เข้าศึกษาในโรงเรียนสถาปัตยกรรม (School of Architecture) จนสำเร็จ
                      การศึกษา ได้รับประกาศนียบัตร (Diploma) จากนั้นจึงได้ศึกษาเพิ่มเติมในโรงเรียนอื่น ๆ ในสังกัด
                      ราชวิทยาลัยศิลป นอกจากนี้ นายฮีลีย์ยังได้ศึกษาวิชาครู (Methods of Teaching) โดยที่มีความจำนง

                      มาตั้งแต่แรกเข้าศึกษาที่ราชวิทยาลัยศิลปแล้ว ว่าจะประกอบอาชีพครูสอนศิลปะต่อไปในอนาคต
                      จึงพยายามศึกษาวิชาแขนงต่าง ๆ ให้ลึกซึ้งกว้างขวาง เข้าใจทั้งเนื้อหาวิชาและวิธีสอนอย่างถ่องแท้

                      อีกด้วย ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ นายฮีลีย์จึงสำเร็จการศึกษา ได้รับประกาศนียบัตรขั้นสูง (Diploma of Full
                                                                                               ๑๕
                      Associateship) จากราชวิทยาลัยศิลป ตลอดจนกิตติบัตรและรางวัลต่าง ๆ จำนวนมาก  ในปีนั้นเอง
                      รัฐบาลสยามได้ติดต่อไปยังสถานเอกอัครราชทูตสยามประจำราชสำนักเซนต์เจมส์ ให้หาครูสอน

                      ศิลปะชาวอังกฤษเข้ามาทำงานเป็น “ครูช่างเขียน” สังกัดกระทรวงธรรมการ กรุงเทพฯ ซึ่งทาง
                      สถานเอกอัครราชทูตได้มอบหมายให้นายจอห์นสัน (W. G. Johnson) ที่ปรึกษาด้านการศึกษา

                      เป็นผู้คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม ซึ่งนายจอห์สันได้ตกลงเลือกนายฮีลีย์ ลงนามในสัญญาจ้างทำงาน
                      ที่สถานเอกอัครราชทูตสยาม ณ กรุงลอนดอน ในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐   จากนั้นนายฮีลีย์
                                                                                          ๑๖
                      และภรรยาก็ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐ และเข้ารับหน้าที่เป็น

                      ครูช่างเขียน ประจำสโมสรช่าง สามัคคยาจารย์สมาคม สังกัดกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ
                      นายฮีลีย์ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนหัตถกรรมราชบุรณะ (ต่อมาคือ โรงเรียนเพาะช่าง) ในช่วง

                      พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๕๕

                            ในช่วง พ.ศ. ๒๔๕๕ นายฮีลีย์มีงานนอกเหนือจากงานราชการ คือการออกแบบก่อสร้าง
                      ตึกบัญชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย) ทั้งยังเห็น

                      โอกาสในการเปิดสำนักงานสถาปนิกเอกชนที่กรุงเทพฯ จึงลาออกจากราชการและเปิดกิจการบริษัท
                      สยามอาคีเต๊กซ์ (Siam Architects Co.) ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๕๖ รับทำการต่าง ๆ ทั้งออกแบบ
                      สถาปัตยกรรม รับเหมาก่อสร้าง และงานมัณฑนศิลป์  ถึง พ.ศ. ๒๔๖๖ นายฮีลีย์เปิดกิจการ
                                                                      ๑๗



                                                                                                             1
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87