Page 75 - kpiebook65062
P. 75
เปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ อย่างไรก็ดี ท่านเป็นหนึ่งในสถาปนิกสยามรุ่นบุกเบิก ที่ได้
ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๗ และในปีเดียวกันนั้นเอง
หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ก็ถึงชีพิตักษัยเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ ชันษา ๔๖ ปี ๕
ผลงานสถาปัตยกรรมของหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์มีจำนวนไม่มากชิ้น ทว่าเป็นอาคารที่สำคัญ
ออกแบบและก่อสร้างอย่างประณีต โดยวัสดุก่อสร้างและตกแต่งที่มีราคาสูง โดยมากเป็นงานที่ทำถวาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศ์ชั้นสูง ได้แก่ ตำหนักใหม่ วังสระปทุม (พ.ศ. ๒๔๖๙)
วังไกลกังวล (พ.ศ. ๒๔๗๒) การปรับปรุงหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (พ.ศ. ๒๔๗๕) เป็นต้น ผลงาน
ของหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์จึงมิได้มีอิทธิพลต่อสถาปนิกไทยรุ่นหลังเท่าใดนัก ทั้งนี้ด้วยบริบทของสังคม
และวัฒนธรรมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมาด้วย
อย่างไรก็ดี บทบาทสำคัญประการหนึ่งของหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ คือการเขียนบทความเกี่ยวกับ
สถาปัตยกรรม วิชาชีพสถาปัตยกรรม และวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทั้งบทบรรยาย ปาฐกถา และ
ข้อเขียน ที่มีการตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ และช่วงรัชกาลที่ ๗ เพื่อกระตุ้นให้
สังคมสยามเกิดความรู้ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของวิชาชีพใหม่นี้ ๖
พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)
พระสาโรชรัตนนิมมานก์ นามเดิม สาโรช สุขยางค์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๘
เป็นบุตรหลวงพัฒนพงษ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์และ
โรงเรียนสวนกุหลาบ ใน พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้รับทุนกระทรวงธรรมการไปศึกษาวิชา ณ ประเทศอังกฤษ
โดยได้เข้าศึกษาชั้นเตรียมที่โรงเรียนเอาน์เดิล (Oundle) ซึ่งมีชื่อเสียงด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์และ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ ตามความประสงค์ของกระทรวงธรรมการที่จะให้นายสาโรชกลับมารับราชการ
เป็นสถาปนิก ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ จึงเข้าศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย
ลิเวอร์พูล (University of Liverpool) ซึ่งขณะนั้นถือกันว่าดีที่สุดในประเทศอังกฤษ ได้ฝึกงานตาม
บริษัทสถาปนิกต่าง ๆ และได้ศึกษา “วิชาสร้างเมือง” (town planning or civic design) อีกด้วย
จนสำเร็จการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรม และประกาศนียบัตรการวางแผนผังเมือง จากมหาวิทยาลัย
ลิเวอร์พูล ในวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓ และเดินทางกลับมายังประเทศไทยในปีเดียวกัน ๗
เข้ารับราชการในกองสถาปนิก กระทรวงธรรมการ มีผลงานออกแบบที่สำคัญในช่วงแรก ได้แก่ อาคาร
ในโรงพยาบาลศิริราช
สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ