Page 74 - kpiebook65062
P. 74

หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร เป็นนักเรียนทุนส่วนพระองค์ เพื่อทรงศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
                      ที่โรงเรียนศิลปากร (Ecole des Beaux-Arts) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส  ส่วนทางรัฐบาลนั้น
                      ใน พ.ศ. ๒๔๕๖ กระทรวงธรรมการได้ส่งนายสาโรช สุขยางค์ เป็นนักเรียนทุนของกระทรวงไปศึกษา

                      ต่อที่ประเทศอังกฤษ ตามมาด้วยการส่งนายนารถ โพธิประสาท เป็นนักเรียนทุนในลักษณะเดียวกัน
                      ใน พ.ศ. ๒๔๖๒ โดยมีความประสงค์ที่จะให้ทั้งสองคนกลับมาเป็นสถาปนิกประจำกระทรวงธรรมการ

                      และจัดการวางแผนการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสยามต่อไปด้วยอีกโสดหนึ่ง  ในรัชกาลที่ ๗
                      “นักเรียนนอก” อย่างหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร และพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)
                      จึงมีบทบาทสำคัญในฐานะ “สถาปนิกสยาม” รุ่นแรกที่เริ่มทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม เคียงบ่า

                      เคียงไหล่กับ “ช่างฝรั่ง” ที่เริ่มลดบทบาทลงโดยลำดับ


                      “สถาปนิกสยาม” รุ่นแรก



                            ด้วยบริบททางการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่กล่าวมา การศึกษาความเปลี่ยนแปลง
                      ในสถาปัตยกรรมช่วงรัชกาลที่ ๗ ย่อมต้องเข้าใจประวัติและการประกอบวิชาชีพของสถาปนิก

                      ผู้ออกแบบอาคารสำคัญ ๆ ในช่วงรัชสมัยนั้น ได้แก่ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร พระสาโรชรัตน
                      นิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากรและนายนารถ โพธิประสาท

                      หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร


                            หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์

                      ประสูติแต่หม่อมสุภาพ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัยและ
                      โรงเรียนนายร้อยทหารบก หลังจากนั้นเสด็จไปศึกษาต่อที่โรงเรียนแฮโรว์ (Harrow) ที่ประเทศอังกฤษ

                      จากนั้นทรงศึกษาที่โรงเรียนศิลปากร (Ecole des Beaux-Arts) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
                      จน พ.ศ. ๒๔๕๙ จึงทรงเข้ารับราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัง ในตำแหน่งนายช่างผู้คำนวณ
                      ออกแบบ ใน พ.ศ. ๒๔๖๒ ทรงเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ตรวจการ และได้รับพระราชทานยศเป็นเสวกเอก

                      เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖

                            ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกกรมศิลปากร และตั้งศิลปากรสถาน

                      ราชบัณฑิตยสภา ขึ้นในพ.ศ. ๒๔๖๙ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ก็ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
                      ศิลปากรสถาน ได้รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์เอกใน พ.ศ. ๒๔๗๐ ทรงออกจากราชการหลัง
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79