Page 72 - kpiebook65062
P. 72

วิชาสถาปัตยกรรมในสถานศึกษาแห่งใด สามารถออกแบบ คำนวณราคา และรับเหมาก่อสร้างได้
                      แม้จะมีผลงานสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่สร้างขึ้นในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ แต่โดยมากก็เป็นอาคาร
                      ในรูปแบบสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์นิยม (Historicism) ที่ไม่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการ

                      ออกแบบ หรือเทคนิควิทยาการก่อสร้างที่ทันสมัยแต่อย่างใด

                            ช่างฝรั่งช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ ที่มีลักษณะการประกอบวิชาชีพแตกต่างออกไป คือนายจอห์น

                      คลูนิส (John Clunis) นายช่างชาวอังกฤษที่รัฐบาลสยามว่าจ้างมาจากเมืองสิงคโปร์ เพื่อมารับราชการ
                      ในตำแหน่ง “อากีเต๊กหลวง” รับพระราชทานเงินเดือนดุจเดียวกับช่างหลวงในระบบราชการแบบจารีต
                      นายคลูนิสมีหน้าที่หลักในการออกแบบพระที่นั่งและอาคารสำคัญๆ ในพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะ

                      พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในพ.ศ. ๒๔๒๕ เป็นอาคารแบบประวัติศาสตร์นิยม
                      ในรูปแบบสถาปัตยกรรมอิตาเลียนเรอเนสซองส์ (Italian Renaissance) ทว่ามีเรือนยอดปราสาทแบบ

                      ไทยประเพณี ผลงานของพระยาราชสงคราม (ทัด หงสกุล)

                            อย่างไรก็ดี การว่าจ้างช่างฝรั่ง และการทำงานร่วมระหว่างช่างฝรั่งกับช่างไทยนั้นมีความยาก
                      ลำบากมาตั้งแต่ต้น ทั้งด้วยวัฒนธรรมการทำงานที่ต่างกัน การคอรัปชัน ตลอดจนความรู้ความชำนาญ

                      ที่มีจำกัด ทั้งฝ่ายช่างฝรั่งและช่างไทย ดังความในหนังสือกราบบังคมทูลของพระยาสุริยานุวัตร
                      (เกิด บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ความว่า


                            “ในกรมโยธา ไม่มีระเบียบอันใดเลย เจ้าพนักงานฝรั่งทุกคนถือตัวว่า เปนผู้ที่รับคำสั่งของ
                      เจ้ากรมให้เขียนแปลนเท่านั้น เขียนขึ้นแล้วเปนหมดน่าที่ ส่งไปยังเจ้าพนักงานไทยให้ไปก่อสร้างขึ้น

                      แม้แต่จะทำผิดแบบในการก่อก็ดี การประสมปูนก็ดี การตัดไม้ก็ดี พวกอินยิเนียว่ากล่าวก็หามีใคร
                      ทำตามไม่

                            ข้างฝ่ายเจ้าพนักงานชาวไทยก็ได้ยินเต็มหูว่า ความกระเบียดกระเสียนหากำไรในการก่อสร้าง
                      ทั้งปวงมีอยู่โดยรอบไป  สรรพสิ่งทั้งปวงที่กรมโยธาทำจึงเปนราคาแพงทั้งสิ้น  มีคนใช้เปนอันมาก
                      แต่จะขอให้วาดเขียนคิดอะไรแต่ละอย่างดูช้าเหลือเกิน  มีพวกที่ใช้เซอรเวบางคน การที่ทำเซอรเวนั้น

                      ก็ไม่น่าเชื่อว่าถูกต้องได้  คิดเลขง่ายๆ ไม่ถูก  แก้ระดับกล้องก็ไม่เปน แต่ก็นับว่าเปนพนักงานเซอร์เว
                      อยู่เสมอ ถ้าจะให้ไว้วางใจได้บ้าง จำจำต้องให้คนเหล่านี้ตั้งต้นเรียนเสียใหม่

                            อาคิตเต๊กฝรั่งที่ทำพระที่นั่งอัมภรณ์นั้น เมื่อได้ดูการก่อสร้างที่ทำขึ้นแล้วก็เหนได้ชัดว่าเปนแต่
                      นักเรียน ซึ่งพอสอบไล่ได้แล้วก็ออกมาทำการเมืองไทย รู้แต่ตำราที่ไล่สอบแต่ความละเอียดในช่างปูน
                      ช่างไม้เปนต้นยังหาพอไม่ มาได้ความชำนาญจากจีนช่างไม้ช่างปูนในกรุงเทพฯ นี่เอง มีที่ติได้หลายอย่าง

                      จนที่สุดแม้แต่บรรใดสำคัญในพระที่นั่งนั้นก็ทำไม่ถูก จะแก้ก็ไม่ทันเสียแล้ว





                                                                                                             1
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77