Page 73 - kpiebook65062
P. 73

มิศเตอร์อาเลกรีเปนผู้บังคับพวกฝรั่ง มีวิชาเปนอินยิเนียอย่างเดียว อาคิเต๊กฝรั่งทำผิดคงรู้ไม่เท่าถึง
                   เหนได้ว่าคนพวกนี้ ไม่ได้เคยสังเกตเลยว่าการละเอียดเช่นถือปูนเข้าไม้ในยุโรปนั้น บ้านดีๆ เขาทำกัน
                   อย่างไร” ๑


                         ในครั้งนั้นพระยาสุริยานุวัตรได้จัดให้จัดการแบ่งหน้าที่ราชการใหม่ มีกองบัญชาการขึ้นต่อ

                   เจ้ากรม กองอินเยอรเนีย (Engineering Section) และกองอาคิเต๊ก (Architectural Section)
                   สองกองหลังนี้รวมเรียกว่า เวรก่อสร้างฝ่ายฝรั่ง แยกจากเวรก่อสร้างฝ่ายไทย ซึ่ง “มีน่าที่ทำการที่เปน
                   ฝีมือช่างไทย เช่นการทำแลซ่อมแซมพระอารามต่างๆ แลการสร้างพระเมรุแลพลับพลาซึ่งต้องการฝีมือ

                                          ๒
                   ช่างไทยโดยเฉภาะเปนต้น” 	ทั้งนี้เงินเดือนและสวัสดิการที่ช่างฝรั่งได้รับ ย่อมเป็นภาระงบประมาณกับ
                   ทางราชการมาก


                         ต่อมาในช่วงต้นรัชกาลที่ ๖ มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานรัฐที่ดูแลการช่างและการก่อสร้าง
                   ที่สำคัญ คือการยุบเลิกกรมโยธา กระทรวงโยธาธิการในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ โดยโปรดเกล้าฯ
                   ให้แยกตัวช่าง คือสถาปนิกและวิศวกร ออกเป็นสองกลุ่ม โดย “ให้แยกพแนกการช่างก่อสร้างส่วนหนึ่ง

                   มาบวกอยู่ในกรมศุขาภิบาล กระทรวงนครบาล  แยกการช่างที่เปนประณีตศิลปไว้ส่วนหนึ่ง  แลให้ยก
                   กรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการมารวมกันตั้งขึ้นเปนกรมศิลปากร มีผู้บัญชาการกรมขึ้นตรงต่อ

                   พระเจ้าแผ่นดิน จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ใดในกระทรวงใดฤๅกรมใดเปนผู้บัญชาการเมื่อใด
                   ก็ได้ แล้วแต่จะทรงพระราชดำริห์เห็นเหมาะกับบุคคล”   นับแต่นั้นมา ช่างและการช่างที่รัชกาลที่ ๕
                                                                  ๓
                   พยายามรวมศูนย์ไว้ที่กระทรวงโยธาธิการ ก็กลับกระจายไปตามหน่วยงานอีกครั้งหนึ่ง เช่นใน

                   พ.ศ. ๒๔๕๖ มีช่างฝรั่งรับราชการในตำแหน่งสถาปนิกอยู่ที่กรมพระคลังข้างที่ ๑ นาย คือ นายเอส. จี.
                   เปโรเลรี (S. G. Peyroleri)  ที่กองช่าง กรมศิลปากร ๑ นาย คือนายแอร์โกเล มันเฟรดี (Ercole

                   Manfredi)  ที่กรมศุขาภิบาล กระทรวงนครบาล ๖ นาย คือนายมาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno)
                   นายกุสตาโว ซัลวาโตเร (Gustavo Salvatore) นายออสการ์ ตาเวลลา (Oscar Tavella)
                   นายอัลเฟรโด ริกัซซิ (Alfredo Rigazzi) นายบี. โมเรสกี (B. Moreschi) นายซี กวาเดรลลี

                   (C. Quadrelli) และนายปิแอร์ ลิกองเนต์ (Pierre Ligonnet)  ๔

                         ในรัชกาลที่ ๖ นี้เอง ที่รัฐบาลสยามเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมี “สถาปนิกสยาม”

                   คือสถาปนิกชาวไทยที่ได้รับการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ตามมาตรฐานตะวันตก เพื่อค่อยๆ
                   ทดแทนการว่าจ้างช่างฝรั่ง ซึ่งแม้จะมีผลงานเป็นที่น่าพอใจ แต่ก็เป็นภาระงบประมาณแผ่นดินมากมาย
                   โดยเฉพาะเงินเดือน ค่าเดินทาง ค่าเช่าบ้าน การลาพักร้อนโดยได้รับเงินเดือนเต็ม บำเหน็จบำนาญ

                   ตลอดจนสวัสดิการต่างๆ ดังปรากฏว่ารัชกาลที่ ๖ ทรงรับหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร และ





                2    สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78