Page 97 - kpiebook65043
P. 97

9




                                ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่




                                                                       Aurel S. Croissant*





                                      หลายคนมองว่าการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเป็นการพ่ายแพ้
                                ของฝ่ายเผด็จการคอมมิวนิสต์แต่เพียงฝ่ายเดียว และเป็นจุดที่สะท้อน

                                ให้เห็นถึงจุดที่สูงที่สุดของทุนนิยมประชาธิปไตยแต่เราอาจสัมผัสได้ว่า
                                ชัยชนะของประชาธิปไตยนั้นมีชีวิตที่สั้นมาก เพียงแค่ 30 ปีหลังจากที่
                                สหภาพโซเวียตล่มสลาย ก็มีการวินิจฉัยพบว่าประเด็นเกี่ยวกับวิกฤต

                                ประชาธิปไตยกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจขึ้นมาใหม่ทั้งในโลก
                                ของวิชาการและการอภิปรายสาธารณะ แต่นักวิชาการที่คุ้นเคยกับ
                                การอภิปรายเรื่องประชาธิปไตยมานาน จะพบว่าวิกฤตประชาธิปไตย
                                ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะการพูดเรื่องวิกฤตประชาธิปไตยเป็นส่งที่มีมายาวนาน
                                พอ ๆ กับการมีอยู่ของประชาธิปไตยเองจนแทบไม่ต้องหันกลับไปมอง

                                ประชาธิปไตยสมัยกรีกเพื่อหาร่องรอยของการอภิปรายเรื่องวิกฤตเหล่านี้เลย

                                      ความคิดที่ว่าประชาธิปไตยอยู่ในช่วงวิกฤตนั้นถูกพูดถึงในช่วงต้น
                                ของการเริ่มมีประชาธิปไตย คนที่พูดเรื่องเหล่านี้ ได้แก่ Alexis De
                                Tocqueville, Karl Marx และ Max Weber ในช่วงทศวรรษที่ 1970

                                ทั้งนักคิดทางการเมืองฝ่ายซ้าย เช่น Claus Offe, Jurgen Habermas
                                และนักวิชาการฝ่ายอนุรักษ์นิยม (ฝ่ายขวา) อย่าง Garcia หรือ Samuel
                                Huntington ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าประชาธิปไตยตะวันตกอยู่ใน

                                ช่วงวิกฤต ดังนั้น นักคิดเหล่านี้จึงได้นำเสนอการอธิบายที่แตกต่างกัน
                                เกี่ยวกับสาเหตุของวิกฤตประชาธิปไตยดังกล่าว การอภิปรายเรื่องวิกฤต
                                ประชาธิปไตยจึงกลับมาได้รับแรงกระตุ้นอีกครั้งทันทีหลังจากที่เป็น
                                ยุคการอภิปรายประชาธิปไตยสมัยใหม่โดยนักกฎหมายที่เชื่อเรื่อง
                                ประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งมากขึ้น มีส่วนร่วมและการปรึกษาหารือมากขึ้น

                                ตลอดจนประชาธิปไตยที่เน้นความเท่าเทียมกัน โดยนักกฎหมายเหล่านี้



                                    *   Prof. Dr., Institute of Political Science, Ruprecht Karls-University,
                                Heidelberg, Germany
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102