Page 93 - kpiebook65043
P. 93
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 93
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
และการลดการพึ่งพาเช่นนี้ อาจจะเป็นหนทางในเบื้องต้นของการสร้างฝ่าย “อนุรักษ์นิยมเสรี”
(Liberal Conservatives) ไม่ใช่ “อนุรักษ์นิยมสุดโต่ง” (หรือที่เรียกในการเมืองโลกปัจจุบันว่า
เป็นพวก “far right” ซึ่งมักจะเป็นพวก “อนุรักษ์นิยมที่ไร้เหตุผล”- irrational conservatives)
และการกำเนิดของฝ่ายอนุรักษ์นิยมเสรีจะเป็นเงื่อนไขพื้นฐานประการหนึ่งของความอยู่รอดของ
กระบวนการสร้างประชาธิปไตย และอย่างน้อยก็เป็นการทำให้ฝ่ายขวาไม่หลงอยู่กับ
“รัฐประหารโมเดล” จนไม่คิดเป็นอื่น !
ความท้าทายใหม่
34) ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ประชาธิปไตยเผชิญความท้าทายทุกยุคทุกสมัย ดังจะเห็นได้ว่า
ในสถานการณ์ของความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในปัจจุบัน จะเห็นถึงความท้าทายใหม่ ๆ
อย่างที่ต้องพิจารณาถึงผลกระทบและการกำเนิดของภูมิทัศน์ใหม่ด้วยความใคร่ครวญ ตัวอย่าง
ของความท้าทายที่สำคัญ 10 ประการ ได้แก่
1) ระบอบประชาธิปไตยจะดำเนินการอย่างไรในท่ามกลางกระแสของการแข่งขัน
ของรัฐมหาอำนาจใหญ่ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ที่บ่งชี้ถึงการก่อตัวของ
“สงครามเย็นในศตวรรษที่ 21”
2) ระบอบประชาธิปไตยจะรับมือกับกระแสต่อต้านเสรีนิยมในยุคปัจจุบัน
ที่มีลักษณะของประชานิยมปีกขวา และในบางครั้งกระแสเช่นนี้อาจขยับตัว
ไปเป็น “ขวาสุดโต่ง” (extreme right) ได้ไม่ยาก และอาจเปลี่ยนเป็น
“ลัทธิฟาสซิสต์ในศตวรรษที่ 21” ได้ด้วย
3) ระบอบประชาธิปไตยจะทำอย่างไรที่จะสามารถทำให้ปีกขวา ดำรงสถานะเป็น
ฝ่าย “อนุรักษ์นิยมเสรี” โดยไม่กลายเป็นพวกต่อต้านประชาธิปไตยอย่างสุดขั้ว
4) ระบอบประชาธิปไตยจะบริหารตัวเองอย่างไรในท่ามกลางของวิกฤตโรคระบาด
ของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ทำอย่างไรที่ประชาธิปไตยจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ
ในการแก้ไขปัญหาโรคระบาด
5) ระบอบประชาธิปไตยจะสร้างความเชื่อมั่นอย่างไรในการฟื้นฟูชีวิตของผู้คน
ในสังคมและการตกต่ำของระบบเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด - 19 อย่างไร
6) ระบอบประชาธิปไตยจะบริหารสภาวะ “disruptive” ที่เกิดจากความผันผวน
ของปัจจัยทางเทคโนโลยีอย่างไร โดยเฉพาะบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สมัยใหม่ การแสดงปาฐกถานำ
7) ระบอบประชาธิปไตยจะพิจารณาปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ และการสงคราม
ใหม่ในบริบทของการเมืองโลกอย่างไร เพราะคุณลักษณะของสงครามและ
มิติความมั่นคงที่รัฐต้องเผชิญเปลี่ยนไปอย่างมาก
8) ระบอบประชาธิปไตยจะบริหารการป้องกันประเทศและกองทัพสมัยใหม่อย่างไร
ที่จะทำให้ “ความสัมพันธ์พลเรือน - ทหาร” ไม่กลายเป็นผลร้ายต่อ
ประชาธิปไตยเสรีนิยม