Page 90 - kpiebook65043
P. 90
90 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
เพื่อเปลี่ยนแปลง เพราะพวกเขามองว่าความพ่ายแพ้จะเป็นการสูญเสียทุกอย่างของฝ่ายขวา
ดังปรากฏให้เห็นเสมอจากประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่จะต้องก่อกระแสตีกลับ
22) ข้อสังเกตของการเมืองไทยในภาวะปัจจุบันคือ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทยมักจะ
หลอมรวมตัวเองเข้ากับฝ่ายเสนานิยม อันเป็นระบบพันธมิตรที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน
(อย่างน้อยตั้งแต่การก่อการรัฐประหารในปี 2490) และในการเมืองปัจจุบัน ยังเห็นถึงแนวโน้ม
สำคัญที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทยยิ่งนานวัน ยิ่งทวีความเป็น “จารีตนิยม” อย่างเห็นได้ชัด หรือ
อาจกล่าวในทางทฤษฎีได้ว่า ยิ่งนานวันฝ่ายอนุรักษ์นิยมยิ่งทวีความเป็น “ขวาจัด” มากกว่า
จะเป็นในแบบ “อนุรักษ์นิยมเสรี” (Liberal Conservative) ซึ่งภาวะเช่นนี้จะเป็นปัญหาสำคัญ
ต่อกระบวนการสร้างประชาธิปไตยไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพราะยิ่งฝ่ายอนุรักษ์นิยม
มีความเป็นขวาจัดมากเท่าใด การสร้างประชาธิปไตยก็ยิ่งมีความเปราะบางมากเท่านั้น และ
จะยิ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะยิ่งดึงเอาฝ่ายทหารให้เข้ามามีบทบาททางการเมือง เพื่อที่จะเป็น
การค้ำจุนต่อการคงอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในสังคมไทย
23) แนวโน้มอีกประการหนึ่งที่สำคัญของฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทยคือ การผนึกกำลังกับ
ฝ่ายทุนนิยม ที่เติบโตและขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง จนต้องยอมรับว่า “กลุ่มทุนใหญ่” เป็น
พลังใหม่ของการขับเคลื่อนการเมืองไทย และแน่นอนว่ากลุ่มทุนใหญ่ได้กลายเป็นพันธมิตร
ที่สำคัญอีกส่วนของฝ่ายอนุรักษ์นิยม อันส่งผลให้ปีกขวาไทยในปัจจุบันมีความเข้มแข็งมากขึ้น
กลุ่มนายทุนไม่ชอบการเมืองปีกซ้ายเช่นไร พวกเขาก็ไม่ชอบปีกประชาธิปไตยเช่นนั้น
โดยเฉพาะปีกทุนมักจะมีทัศนะเสมอว่า การเมืองแบบประชาธิปไตยจะเป็นการ “เปิดประตู”
ให้กับชนชั้นล่าง และชนชั้นกลางปีกซ้ายเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น จนอาจกลาย
เป็นการคุกคามต่อผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนได้ ทั้งมองในแบบดั้งเดิมว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยม
จะเป็นผู้ปกป้องผลประโยชน์ของตน และจะเป็นผู้ขัดขวางการมาของ “การเมืองแบบมวลชน”
(Mass Politics)
24) ผลที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันคือ การสนธิกำลัง 4 ฝ่าย คือ “อนุรักษ์นิยม -
จารีตนิยม - ทุนนิยม - เสนานิยม” โดยสร้างพลังอำนาจผ่าน “เสนาธิปไตย+ตุลาการธิปไตย”
จึงอาจเปรียบเทียบได้ว่า การสนธิกำลังครั้งนี้คือ การสร้าง “บ้านสี่เสา” ของฝ่ายขวาไทย
การแสดงปาฐกถานำ “จตุภาคี” ของปีกขวาไทย
และมี “สองคาน” เป็นเครื่องแบกรับโครงสร้างของบ้านนี้ หรืออาจเรียกพลังทั้งสี่ส่วนนี้ว่าเป็น
25) แต่กระนั้นพวกเขาควรต้องตระหนักเสมอว่า กระแสของ “จตุภาคี” ที่ฝ่ายอนุรักษ์
นิยมใช้เป็นพลังในการขับเคลื่อนสังคมนั้น ก็ถูกท้าทายจากพลวัตของโลก ที่ความเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระแสโลกาภิวัตน์ ปัจจัยทางเทคโนโลยีและ
โลกออนไลน์ ปัจจัยของชีวิตทางสังคมของคนรุ่นใหม่ ตลอดรวมถึงกระแสความเชื่อ/
ชุดความคิดที่แตกต่างไปจาก “วัตรปฏิบัติ” ของฝ่ายขวา อีกทั้งปัญหาความแตกต่างของ
โจทย์สงครามและความมั่นคง จนอาจจะต้องถือว่าพลวัตจากปัจจัยเหล่านี้กำลังทำหน้าที่