Page 92 - kpiebook65043
P. 92
92 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
30) ดังนั้น ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย ฝ่ายเสรีนิยมจะต้องผลักดัน
ให้เสียงเรียกร้องในการปฏิรูปกองทัพจะมีมากขึ้นทั้งในและนอกสภา อีกทั้งจะต้องผลักดัน
ให้การปฏิรูปกองทัพเป็น “วาระแห่งชาติ” และสังคมไทยในอนาคต นอกจากนี้ฝ่ายประชาธิปไตย
จะต้องพิจารณาประเด็นเรื่องการลดบทบาททางการเมืองของทหารอย่างจริงจังมากขึ้น ทั้งยัง
จะต้องคิดถึงประเด็นการปฏิรูปจากมุมมองของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาคการเมือง
ภาคกองทัพ และภาคประชาสังคม อีกทั้งยังต้องผลักดันและขับเคลื่อนอย่างมากเพื่อให้เกิด
“ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย” ต่อกองทัพ
31) ในอีกด้านของปัญหา จะต้องสร้าง “ความตระหนักรู้” ให้เกิดขึ้นกับบรรดา
คณะนายทหารว่า ถึงเวลาที่ผู้นำกองทัพควรจะต้องยอมรับว่า การมีบทบาททางการเมือง
ไม่ใช่วิถีของการสร้างและพัฒนากองทัพสมัยใหม่ และการมีบทบาทเช่นนี้ไม่ใช่ผลประโยชน์
ของกองทัพในเชิงสถาบัน บทบาททางการเมืองที่เกิดขึ้นมักเป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตน
ของผู้นำทหารบางคนหรือบางกลุ่ม ในขณะเดียวกันกองทัพเองก็เผชิญแรงกดดันจากรอบด้าน
ที่สังคมต้องการเห็นกองทัพไทยเป็น “ทหารอาชีพ” มากกว่า “ทหารการเมือง” ดังนั้น เราอาจ
คาดการณ์ได้ว่า เสียงเรียกร้องในการปฏิรูปกองทัพและการสร้างทหารอาชีพไทยจะดังมากขึ้น
อันจะเป็นแรงกดดันโดยตรงต่อผู้นำทหารและผู้นำปีกขวาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้น
ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยจึงต้องถือเข็มมุ่งในการสร้าง “ความสัมพันธ์พลเรือน - ทหาร” ที่เป็น
ประชาธิปไตย (Democratic civil-military relations)
32) ฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องตระหนักเสมอว่า การปฏิรูปกองทัพอาจจะไม่ใช่
“สูตรสำเร็จ” ที่จะทำให้รัฐประหารหมดไปจากการเมืองไทย แต่การปฏิรูปกองทัพเป็นหลักการ
พื้นฐานของการสร้างทหารอาชีพ และจะเป็นโอกาสของการพัฒนากองทัพไทยให้มีความทันสมัย
มากกว่าความทันสมัยทางทหารที่มีดัชนีจากการจัดซื้อจัดหาอาวุธสมัยใหม่ที่มีราคาแพง และ
ความสำเร็จเช่นนี้จะมีนัยว่า คณะนายทหารในกองทัพไทยจะให้ความสนใจกับเรื่องทางทหาร
มากกว่าการแสวงหาช่องทางของการแทรกแซง และการขยายบทบาททางการเมือง ที่สุดท้าย
แล้ว การกระทำเช่นนั้น จะทำให้ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะตกอยู่กับกลุ่มผู้นำทหารบางส่วน
มากกว่าจะเป็นผลเชิงบวกที่เกิดขึ้นกับสถาบันทหาร
การแสดงปาฐกถานำ ความสำเร็จของการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง หรืออาจกล่าวเป็นเงื่อนไขที่ผูกพันสองปัจจัย
33) การปฏิรูปกองทัพเป็นรากฐานประการหนึ่งที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อ
เข้าด้วยกันได้ว่า “จะเปลี่ยนผ่านสำเร็จ ต้องปฏิรูปทหารสำเร็จ และจะปฏิรูปทหารสำเร็จ
ก็ต้องเปลี่ยนผ่านสำเร็จ” การผูกโยงของสองปัจจัยในสองเงื่อนไขนี้ต้องถือเป็นยุทธศาสตร์
สำคัญของขบวนประชาธิปไตยไทย เพราะเสนานิยมไทยมีสถานะเป็นเครื่องมือเชิงอำนาจ
ที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะใช้ในการโค่นล้มฝ่ายประชาธิปไตยเสรีนิยม ดังเห็นได้จากปรากฏการณ์
ในประวัติศาสตร์มาแล้ว การจะทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทยไม่กลายเป็น “พวกขวาจัด” นั้น
ฝ่ายเสรีนิยมจึงต้องลดการพึ่งพาทางการเมืองของปีกอนุรักษ์นิยมที่มีต่อเสนานิยมลงให้ได้