Page 99 - kpiebook65043
P. 99

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  99
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             เกิดวิกฤตประชาธิปไตย และสิ่งที่จะบ่งชี้ได้ว่าประชาธิปไตยอยู่ในช่วงวิกฤต และสุดท้าย
             จะขอสรุปข้อโต้แย้งทั้งหมดและอภิปรายเรื่องโอกาสสำหรับประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 21

                   ทุกวันนี้ประชาธิปไตยอยู่ในช่วงวิกฤตหรือไม่ ?


                   การที่เราจะเข้าใจได้ว่าประชาธิปไตยอยู่ในช่วงวิกฤตหรือไม่ ก็จำเป็นจะต้องเข้าใจถึง
             แนวคิดว่าประชาธิปไตยคืออะไร และวิกฤตคืออะไร และอะไรที่ไม่ใช่ ดังนั้น จะขออธิบายคำว่า
             “ประชาธิปไตย” และ “วิกฤต” เสียก่อน

                   คำว่า “ประชาธิปไตย” เป็นคำศัพท์ที่มีรากมาจากภาษากรีก ได้ปรากฏตั้งแต่

             ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล และมีความหมายว่า “ปกครองโดยประชาชน” อย่างไรก็ตาม
             คำว่า “ประชาธิปไตย” ได้ถูกมองว่าเป็นคำที่ทำให้เกิดการโต้เถียงได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเกี่ยวกับ
             แนวคิดที่ถูกต้อง ดังนั้น ประชาธิปไตย จึงถูกนิยามไปตามบริบททางการเมืองสมัยใหม่ที่ยังคง
             โต้แย้งกันเพื่อหาคำนิยามที่ถูกต้อง โดยมีรากฐานมาจากแนวคิดสำคัญสามอย่าง คือ แนวคิด

             ในรูปแบบที่มองอย่างง่าย ๆ (minimalist) ปานกลาง (middle-range) และแนวคิดที่มองแบบ
             ซับซ้อน (maximalist)

                   ในรูปแบบ minimalist ของประชาธิปไตยมีรากฐานอยู่ในงานของ Joseph Schumpeter

             นักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียอเมริกัน ซึ่งได้มีการนิยามประชาธิปไตยโดยมองจากนักรัฐศาสตร์
             ชั้นนำบางคน โดยนักคิดกลุ่มนี้พบว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ชนชั้นในทาง
             การเมืองการปกครองเป็นผู้จัดและเคารพต่อการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม การนิยามเช่นนี้ไม่ได้มี
             การขยายความถึงเสรีภาพที่ให้อำนาจแก่กลุ่มที่ไม่ใช่ชนชั้นนำอย่างเสรีภาพของพลเมือง
             อิสระของสื่อ หรือหลักนิติธรรม ดังนั้น การนิยามคำว่าประชาธิปไตยของกลุ่มนี้จึงมีข้อ

             บกพร่องที่ Terry Karl เรียกว่า “ความหลงผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง” (electoral fallacy)
             แม้ว่าการแข่งขันในการเลือกตั้งจะปรากฏในระบอบการปกครองนั้นจริง แต่การนิยาม
             ประชาธิปไตยเช่นนี้จะนำไปสู่องค์ประกอบของประชาธิปไตยที่จะทำให้กลุ่มที่ไม่ใช่ชนชั้นนำ

             ซึ่งก็คือพลเมืองเข้ามามีอิทธิพลสำคัญต่อผู้นำทางการเมืองของพวกเขาได้อย่างไร

                   กลุ่มที่สนับสนุนแนวความคิดแบบ middle-range ของประชาธิปไตยมองว่าความเข้าใจ
             ของประชาธิปไตยของกลุ่มที่มองประชาธิปไตยในรูปแบบง่าย ๆ นั้น ไม่เพียงพอ นอกจากนี้
             กลุ่มนี้ยังมองว่ารูปแบบของประชาธิปไตยได้นิยามประชาธิปไตยในเชิงกระบวนการซึ่งเป็น

             การจัดสถาบันทางการเมืองเพื่อให้เกิดการตัดสินใจทางการเมือง อย่างไรก็ตาม การจัดการ
             สถาบันทางการเมืองไม่ได้มีแค่เพียงการเลือกตั้งที่อิสระและเป็นธรรมเท่านั้น แต่จะต้องหมาย
             ถึงอิสระทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการเลือกที่มีความหมาย และทำให้ผู้ปกครองมีสำนึกรับผิดชอบ
             (accountable) ต่อพลเมืองของตนเอง สิ่งที่สำคัญที่สุดของแนวคิดนี้คือประชาธิปไตยที่เสรี
             การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม การทำงานของหลักนิติธรรม และหลักเสรีภาพอื่น ๆ               การอภิปราย

             ซึ่งหลักนิติธรรมในรูปแบบนี้ ไม่ได้เป็นเพียงฐานของประชาธิปไตย แต่ถือเป็นสาระสำคัญของ
             ประชาธิปไตย
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104