Page 103 - kpiebook65043
P. 103
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 103
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
แต่อย่างไรก็ตาม การเกิดวิกฤตเหล่านี้ได้สร้างความท้าทายต่อประชาธิปไตยในเมื่อเกิด
การตั้งคำถามในหลายประเทศว่า การแก้ปัญหาด้วยระบอบการปกครองอื่นจะสามารถทำได้
ดีกว่าหรือไม่
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าประชาธิปไตยกำลังประสบกับภาวะวิกฤตหรือไม่ จำเป็น
จะต้องมีตัวชี้วัด และแม้ว่าจะมีการนำเสนอตัวชี้วัดหลายรูปแบบก็ตาม เห็นว่าตัวชี้วัดที่สามารถ
ใช้เป็นหลัก ได้แก่
ประการที่หนึ่ง ตัวชี้วัดที่บ่งชี้คุณภาพของประชาธิปไตยในระบอบการเมือง เช่น ตัวชี้วัด
จาก Freedom House
ประการที่สอง ตัวชี้วัดที่บ่งชี้จากสิ่งอื่น ๆ เช่น การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
วิกฤตหรือคุณภาพของประชาธิปไตย เช่น World Value Survey ซึ่งมีการแสดงให้เห็นถึง
การถดถอยของประชาธิปไตยทั่วโลก ตลอดจนชี้ให้เห็นถึงการพังทลาย และการล่มสลายของ
ระบอบประชาธิปไตย
จากการประเมินวิกฤตประชาธิปไตยในหลาย ๆ ตัวชี้วัด จะเห็นได้ว่าการสนับสนุน
ประชาธิปไตยได้มีแนวโน้มลดลง และความไม่พอใจ ตลอดจนความแคลงใจต่อการทำงานของ
ระบอบประชาธิปไตยมีเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการลดลงของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม ถามว่าในโลกยุคปัจจุบันนี้ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ยังสามารถทำงานต่อไปได้หรือไม่ ก็เห็นว่ายังคงทำงานได้อยู่ แต่สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
คือ ประชาธิปไตยจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่มีความเป็นพลวัต เพราะประชาธิปไตยก็เป็น
สิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับสิ่งอื่น ๆ นั่นคือ มีการพัฒนา เติบโต และเปลี่ยนแปลง และแม้ว่าคุณค่า
ของระบอบประชาธิปไตยท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดโควิด - 19 จะสะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัด
ของการทำงานของระบอบประชาธิปไตยเพื่อบริหารจัดการกับภาวะวิกฤตก็ตาม แต่วรรณกรรม
ทางรัฐศาสตร์ร่วมสมัยมากมายก็ยังคงยอมรับว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
เป็นการปกครองที่ก่อให้เกิดผลดีต่อประชาชนโดยส่วนรวมไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ที่สะอาด การสาธารณสุข การศึกษา และสวัสดิการสังคม จากหลักฐานทั้งหมดนี้ จึงเป็นไป
ได้สูงว่าประชาธิปไตยยังคงเป็นระบอบการปกครองที่สามารถทำงานได้ต่อไปในระยะยาว
และท้ายที่สุด เวลาจะเป็นสิ่งที่พิสูจน์เองว่าประชาธิปไตยจะปรับตัวอย่างไรเพื่อให้อยู่รอด
ท่ามกลางภูมิทัศน์ใหม่และสังคมที่มีความผันผวนอย่างในปัจจุบัน
การอภิปราย