Page 108 - kpiebook65043
P. 108
10 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
กระแสประชาธิปไตยถดถอยในบริบทโลก
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วกันดังที่ได้มีการกล่าวถึงตลอดระยะเวลาการประชุมนี้ว่า แม้ว่า
หลายประเทศทั่วโลกจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่จากการศึกษาวิจัยของรายงาน
Global State of Democracy Report ซึ่งศึกษาและวิเคราะห์แนวโน้มของประชาธิปไตยทั่วโลก
ตลอดจนการพัฒนาประชาธิปไตยในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ต้องถือว่าประชาธิปไตยอยู่ในสภาวะ
ถดถอย แม้ว่ารายงานวิจัยจะบ่งชี้ว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจะเพิ่มขึ้นตลอดช่วงเวลา 30 ปี
ที่ผ่านมา แต่เห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงสองปีก่อนหน้านี้ว่าจำนวนประเทศที่ปกครองด้วยระบอบ
ประชาธิปไตยมีการลดลง
ทั้งนี้ กลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิก ถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่ประสบปัญหากับ
การถดถอยของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างรุนแรง ยิ่งกว่านั้น หลายประเทศ
แทบจะประสบปัญหาที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยผุกร่อน” เลยก็ว่าได้ เช่น ประเทศเมียนมา
ประเทศอัฟกานิสถาน หรือในเขตการปกครองพิเศษฮ่องกง ซึ่งถ้าหากจะยกตัวอย่างที่เห็นได้
ชัดเจนและเกิดขึ้นในบริเวณใกล้นี้ ก็คือ กรณีของประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดการรัฐประหาร และ
มีการใช้กำลังปะทะกับประชาชนที่เห็นต่างและมีการเรียกร้องประชาธิปไตยจนทำให้การ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตยหยุดชะงักลง
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการประสบปัญหาของการเข้าสู่การปกครองในระบอบเผด็จการ
หรืออำนาจนิยมในหลายประเทศ แต่การเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนจากระดับ
ฐานรากในประเทศเหล่านั้น หรือแม้แต่ความพยายามในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย
ของคนบางกลุ่มในประเทศเหล่านั้นที่ใช้เวลาอย่างยาวนาน ก็ทำให้ได้เห็นความหวังว่า
ประชาธิปไตยยังถูกมองว่าเป็นระบอบการปกครองแห่งความหวังเพราะเป็นระบอบการปกครอง
ที่ทำให้ทุกคนมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน และแม้จะเป็นช่วงเวลาที่ประสบวิกฤตอันมืดมิดที่สุด
ก็ตาม และการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเช่นนี้ก็เห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีของประเทศเนปาล
การอภิปรายมุมมองและประสบการณ์จากต่างประเทศ
ประเทศติมอร์ - เลสเต หรือในประเทศเกาหลีใต้ในช่วงที่มีการปกครองโดยประธานาธิบดี
ที่เป็นเผด็จการ เป็นต้น
ทั้งนี้ปัจจุบัน รายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
หลายแห่งได้ชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าที่ผ่านมาหลายประเทศจะประสบกับปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหา
ทางการเมืองภายใน หรือเป็นปัญหาจากวิกฤตต่าง ๆ ของประเทศนั้น ๆ ก็ตาม แต่หลาย
ประเทศก็พยายามฝ่าฟันปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีการที่เป็นประชาธิปไตย และพยายามรักษา
คุณค่าของประชาธิปไตยนั้นไว้ได้ แต่วิกฤตโรคระบาดที่ผ่านมาและได้ส่งผลกระทบกันทั่วโลกนั้น
ทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยว่าจะสามารถ
ตอบโจทย์การแก้ไขวิกฤตโรคระบาด หรือตอบสนองความต้องการของประชาชนได้หรือไม่
แม้ว่าหลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจะสามารถรักษากระบวนการและคุณค่าความเป็น
ประชาธิปไตยไว้ท่ามกลางภาวะโรคระบาด เช่น การจัดการเลือกตั้งในยุคโรคระบาดที่มี