Page 111 - kpiebook65043
P. 111

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  111
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             มีอยู่จริงในหลายประเทศ แม้ว่าประเทศนั้นจะมีลักษณะเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มี
             ขนาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ก็ยังถูกกระแสความถดถอยของประชาธิปไตยดังกล่าว
             (หรือที่อาจเรียกว่า “ประชาธิปไตยตีกลับ”) เช่น กระแสการสนับสนุน Ronald Trumps ซึ่งมี
             ค่านิยมเป็นขวาจัด หรือการครองอำนาจแบบอัตตาธิปไตยของปูตินในประเทศรัสเซีย เป็นต้น


                   นอกจากนี้ Thompson ยังแสดงให้เห็นถึงกระแสการ “ดันกลับ” (Pushback) ของ
             ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นหลายแห่งในโลก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หลายประเทศทั่วโลก
             โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศที่ประชาธิปไตยยังไม่ตั้งมั่นก็ได้เกิดกระแสการดันกลับของ
             ประชาธิปไตยโดยเกิดการปกครองในระบอบเผด็จการ หรือเกิดการปกครองที่ผู้ปกครอง

             ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลขึ้น และในเวทีอภิปรายนี้ Thompson
             ได้กล่าวถึงกรณีศึกษาของ 4 ประเทศ ที่เกิดภาวการณ์ตีกลับของประชาธิปไตยอย่างเห็นได้ชัด
             คือ กรณีศึกษาของประเทศเมียนมา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย


                   1) กรณีของประเทศเมียนมานั้น ถ้าหากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ทางการเมืองของ
             ประเทศเมียนมาจะพบว่าประชาชนมีการเรียกร้องการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
             มาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งได้ แต่สุดท้ายก็เกิดการรัฐประหาร
             และรัฐบาลทหารก็ได้ล้มล้างสถาบันทางการเมืองหลัก ตลอดจนจับกุมหัวหน้ารัฐบาลพลเรือน

             (นางอองซาน ซูจี) และเกิดการแสดงออกถึงความไม่พอใจต่อรัฐบาลทหารตลอดจน
             การแสดงออกถึงการอยากหวนกลับไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยกระแส
             การเรียกร้องนี้ได้เริ่มต้นจากประชาชนระดับรากหญ้า และกระแสความต้องการประชาธิปไตยนี้เอง
             จึงทำให้เกิดต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ และเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างรัฐบาลกับ

             ประชาชน ซึ่งส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากต้องเสียชีวิต

                   2) กรณีของประเทศอินโดนีเซียนั้น อาจจะเกิดแรงปะทะหรือความขัดแย้งไม่มากนัก
             เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้ใช้อำนาจเผด็จการอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังจัดให้มีการเลือกตั้งที่ยุติธรรม
             และยังมีสถาบันทางการเมืองที่ยังคงทำงานได้ แม้ว่าในช่วงที่มีการปกครองแบบเผด็จการนั้น

             อาจจะมีการละเมิดสิทธิเสรีภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสรีภาพในการแสดงความเห็น เสรีภาพ
             ของสื่อ ตลอดจนอาจมีการล่วงละเมิดหลักเกณฑ์ประชาธิปไตยบางประการด้วย

                   3) กรณีของประเทศฟิลิปปินส์นั้น ทำให้เกิดการต่อต้านประธานาธิบดีในช่วงที่มี
             การใช้อำนาจปราบปรามยาเสพติดซึ่งเป็นการใช้อำนาจที่มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพ และก่อให้เกิด

             การวิพากษ์วิจารณ์ต่อการใช้อำนาจดังกล่าวเป็นอย่างมาก                                      การอภิปรายมุมมองและประสบการณ์จากต่างประเทศ

                   4) กรณีของประเทศไทยนั้น จะมีการตั้งคำถามต่อการเลือกตั้งที่ดูเหมือนถูกทำให้ล่าช้า
             ไปในช่วงที่เกิดการรัฐประหาร (โดยเหตุที่ทำให้เกิดการเลือกตั้งล่าช้า ก็คือการยกร่าง
             รัฐธรรมนูญซึ่งมีการไม่ให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญหนึ่งฉบับ) และแม้จะมี

             การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ตลอดจน
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116