Page 110 - kpiebook65043
P. 110
110 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ความล้มเหลวในการบริหารจัดการในช่วงแรก ซึ่งการประสบความล้มเหลวในการบริหารจัดการนี้
ก็ไม่เว้นแม้แต่กับประเทศที่เป็นต้นตำรับของประชาธิปไตยหรือมีประชาธิปไตยตั้งมั่น
แบบสหรัฐอเมริกา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในช่วงแรกของวิกฤตโควิด - 19 การบริหารจัดการ
ที่เกิดขึ้นในทุกประเทศที่ประสบปัญหาดังกล่าวพบว่าประเทศที่มีการปกครองแบบเผด็จการ
หรือมีมาตรการที่ค่อนข้างเด็ดขาดในการจัดการ (แม้จะมีการละเมิดสิทธิเสรีภาพบางประการ)
กลับสามารถจัดการภาวะวิกฤตได้ดีกว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แต่ประเด็นดังกล่าวนี้
Vermonte ได้ย้ำตอนท้ายว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการสามารถ
จัดการกับวิกฤตโรคระบาดได้ดีกว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้น ยังไม่อาจสรุปได้ทั้งหมด
เนื่องจากปัจจุบันต้องถือว่าภาวะวิกฤตโรคระบาดนั้นยังไม่จบลงโดยสมบูรณ์ ก็ยังเป็นประเด็น
ที่จะต้องติดตามต่อไปว่า สุดท้ายแล้ว ประชาธิปไตยจะสามารถปรับตัวกับการจัดการในภาวะ
วิกฤตได้หรือไม่
นอกจากนี้ Vermonte ยังได้แสดงให้เห็นว่า นอกเหนือจากการแก้ปัญหาภาวะวิกฤต
ที่แต่ละประเทศก็เริ่มจะสามารถปรับตัวและรับมือได้แล้ว และบางประเทศก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า
ประชาธิปไตยสามารถนำไปสู่การรับมือกับสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดที่มีประสิทธิภาพ
และละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนน้อยที่สุดอย่างเช่นกรณีของประเทศเกาหลีใต้ และ
ประเทศนิวซีแลนด์ แต่ปัญหาที่สำคัญต่อมา คือ ความท้าทายหลังจากที่จะต้องฟื้นฟูประเทศจาก
ความเสียหายในภาวะวิกฤต โดยเป็นความท้าทายที่ว่าประชาธิปไตยจะสามารถพลิกฟื้น
สถานการณ์ของวิกฤตโรคระบาดให้กลับมาดังเดิมได้หรือไม่ ซึ่งการพลิกฟื้นดังกล่าวภายใต้
คุณค่าของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคงคุณค่าของ
ประชาธิปไตย ที่สำคัญคือการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย
ท้ายที่สุด Vermonte ได้ทิ้งท้ายไว้อย่างชัดเจนว่า วิกฤตโรคระบาดที่เกิดขึ้นได้เตือน
ให้ทุกสังคมได้ถอดบทเรียนในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และประชาธิปไตย ในสองมุม คือ มุมแรก
การอภิปรายมุมมองและประสบการณ์จากต่างประเทศ
วิกฤตดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงจุดบางจุดที่เริ่มบกพร่องของประชาธิปไตย และมุมที่สอง วิกฤต
ดังกล่าวได้ให้บทเรียนที่สำคัญที่ทำให้ทุกประเทศเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้น
ในครั้งต่อไป โดยเตรียมการรับมือด้วยวิธีการที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพให้น้อยที่สุด
กระแสความถดถอยของประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Mark R. Thompson ได้ชี้ให้เห็นว่า จากการศึกษาในทางวิชาการ พบว่า หลายประเทศ
ทั่วโลกได้เข้าสู่ภาวะประชาธิปไตยถดถอย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากศึกษางานเขียนของ
Huntington จะพบว่าในงานเขียนดังกล่าวได้เคยพูดถึงคลื่นของประชาธิปไตยโดยกล่าวว่า
ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 โลกได้เข้าสู่ยุค “คลื่นลูกที่ 3” หรือที่เรียกว่าประชาธิปไตยถดถอย
และส่งผลให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบเผด็จการ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เกิด
การปกครองที่มีผู้นำมีลักษณะขวาสุด เป็นต้น และในปัจจุบันนี้ เราก็พบว่ากระแสดังกล่าวนั้น