Page 113 - kpiebook65043
P. 113
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 113
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
2
กระแสความถดถอยของประชาธิปไตยในประเทศเกาหลีใต้
ประเทศเกาหลีใต้นับว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อย่างรวดเร็วหลังจากที่ได้ผ่านช่วงที่ปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการ จนนักวิชาการหรือตำรา
หลายเล่มได้กล่าวถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศเกาหลีใต้ว่ามีลักษณะ
เหมือนประชาธิปไตยในกลุ่มประเทศที่ประชาธิปไตยตั้งมั่นแล้ว อย่างไรก็ตาม
ก่อนที่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศเกาหลีใต้จะมีการพัฒนาอย่างในปัจจุบัน
ประเทศเกาหลีใต้เองก็เคยประสบวิกฤตทางการเมืองมาก่อน โดย Youngho Cho ได้กล่าวถึง
การพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศเกาหลีใต้ด้วยการกล่าวถึง “การปฏิวัติแสงเทียน” ในช่วง
ค.ศ. 2016 - 2017 ซึ่งเป็นการชุมนุมของชาวเกาหลีใต้ที่เรียกร้องให้ผู้นำประเทศซึ่งขณะนั้นคือ
ประธานาธิบดีปาร์คกึนเฮ ต้องลาออกจากตำแหน่งและจะต้องถูกตรวจสอบเกี่ยวกับกรณี
การใช้ตำแหน่งของตนเองเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง และการชุมนุมดังกล่าวก็กลายเป็น
สัญลักษณ์ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดจนเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการประท้วง
โดยสันติ
อย่างไรก็ตาม การผ่านช่วงความขัดแย้งในการปกครองของผู้นำประเทศเผด็จการที่เกิดขึ้น
ตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1996 ตลอดจนการมีรัฐบาลที่มีที่มาอย่างเป็นประชาธิปไตยซึ่งก่อให้เกิดปัญหา
เกี่ยวกับการทุจริตอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจของผู้นำอำนาจนิยม แต่ก็เกิดการชุมนุม
เรียกร้องและประสบความสำเร็จก็ตาม แต่ก็ไม่อาจพูดได้ว่าการผลักดันให้ประเทศกลับเข้าสู่
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ทุกครั้งนั้นเป็นความสำเร็จของประชาธิปไตยในประเทศ
เกาหลีใต้ เพราะที่ผ่านมา ความสำเร็จของประชาธิปไตยดังกล่าวเป็นเพียงความสำเร็จใน
เชิงสถาบันเท่านั้น
ที่สำคัญ จากการสำรวจการให้คุณค่าแก่หลักของประชาธิปไตยในประเทศเกาหลีใต้
ก็พบว่า แม้จะมีการวางหลักประชาธิปไตยไปในทางที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและ
ป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ตลอดจนการใช้อำนาจเกื้อหนุนต่อกลุ่มธุรกิจของพวกพ้อง
ก็ตาม แต่ในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด - 19 ที่ต้องการ
การบริหารจัดการอย่างเร่งด่วน ก็ได้สะท้อนให้เห็นว่ายังคงมีการสนับสนุนการปกครองหรือ
การใช้อำนาจแบบระบอบอำนาจนิยมอยู่ และการสนับสนุนดังกล่าวก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย
ดังนั้น จากข้อสรุปเดิมที่ชี้วัดความสำเร็จของประชาธิปไตยเพียงแค่กระบวนการ และสถาบัน
ทางการเมืองต่าง ๆ ก็อาจไม่เพียงพอต่อการชี้วัดความสำเร็จของประชาธิปไตยในบริบทปัจจุบัน การอภิปรายมุมมองและประสบการณ์จากต่างประเทศ
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเรียกร้องประชาธิปไตยสำเร็จ ไม่ได้หมายความว่าประเทศ
เกาหลีใต้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จ แต่การสร้างทัศนคติและ
แนวคิดที่เชื่อมั่นต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนการเชื่อว่า
2 รายละเอียดปรากฏในบทความท้ายบทสรุปการอภิปรายนี้