Page 100 - kpiebook65043
P. 100

100  สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                 ส่วนกลุ่มที่สนับสนุนแนวคิดที่สามหรือกลุ่ม maximalist ของประชาธิปไตยนั้น มองว่า
           ข้อจำกัดในกระบวนการที่เป็นมิติเกี่ยวกับกระบวนการทางการเมือง และการขยายความไปถึง
           การมีส่วนร่วมของกระบวนการประชาธิปไตยนั้น ไม่เพียงพอในการนิยามประชาธิปไตยนั้น
           กลุ่มนี้มองว่าต้องรวมถึงมิติของผลลัพธ์ด้วย ซึ่งก็คือ สมรรถภาพและผลลัพธ์ของกระบวนการ

           ทางการเมือง ภายใต้วิธีคิดเช่นนี้ นักคิดกลุ่มนี้ได้วางปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความมั่นคงทั้งภายใน
           และภายนอก เศรษฐกิจที่มั่งคั่ง (economic well-being) การรับประกันสวัสดิการโดยรัฐ
           ความเป็นธรรม และความยุติธรรมในการกระจายสินค้าสาธารณะ รายได้ ความมั่นคง

           ทางสังคม และโอกาสในชีวิต จะต้องรวมอยู่ในคำนิยามด้วย

                 การนิยามประชาธิปไตยมีอิทธิพลต่อการวินิจฉัยถึงวิกฤตอย่างไร ?

                 กลุ่ม minimalist ได้นิยามประชาธิปไตยแคบเกินไป ในขณะที่กลุ่ม maximalist
           ก็ได้นิยามประชาธิปไตยกว้างเกินไป ซึ่งทั้งสองแนวคิดไม่ได้เจาะจงถึงประชาธิปไตย และ

           ผลลัพธ์อย่างที่กลุ่ม maximalist พูดถึง ก็ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่เป็นเฉพาะการปกครองในระบอบ
           ประชาธิปไตยด้วย ด้วยเหตุนี้ รูปแบบของทั้งสองกลุ่มจึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์
           มาตรฐานในการวิเคราะห์เชิงประจักษ์เกี่ยวกับประชาธิปไตยและวิกฤตประชาธิปไตย ดังนั้น
           จึงขอแนะนำให้เน้นการวิเคราะห์ไปที่การมองนิยามของกลุ่ม middle - range ในการทำความ

           เข้าใจประชาธิปไตย ในฐานะที่เป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมในการวิเคราะห์วิกฤตที่เป็นไปได้และวิกฤต
           ของประชาธิปไตย

                 ปัจจุบัน คำว่า “วิกฤต” (crisis) ถือเป็นคำที่ใช้กันทั่วไป และอาจถือว่าใช้กันอย่างพร่ำเพรื่อ
           คำว่า วิกฤตมีรากมาจากภาษากรีก และมีความหมายดั้งเดิมแปลว่า “ความเห็น” (opinion)

           “การตัดสิน” (judgment) หรือ “การตัดสินใจ” (decision) อย่างไรก็ตาม ต่อมาความหมายนี้
           กินความรวมถึง “ความไม่แน่นอน” “สถานการณ์ที่ต้องตื่นตัว” (alarming situation) หรือ
           จุดเปลี่ยนผัน (turning point) ดังนั้น ความเข้าใจและรูปแบบที่แตกต่างกันของคำว่า “วิกฤต”
           เช่น จากการใช้คำว่าวิกฤตที่สื่อถึงความหายนะทางธรรมชาติ ไปถึงการใช้คำว่าวิกฤตทางการเมือง


                 คำว่า “วิกฤตทางการเมือง” โดยตัวของมันเองเป็นคำที่คลุมเครือและกว้าง โดยเฉพาะ
           อย่างยิ่งการตั้งคำถามว่าวิกฤตเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือเมื่อวิกฤตจบลงโดยที่แก้ไขไม่ได้ สิ่งที่ยังคง
           ไม่ชัดเจนอีกอย่าง ก็คือ พื้นฐานสำหรับการเปรียบเทียบซึ่งยอมให้ความคลาดเคลื่อนถูกวินิจฉัย
           เช่นนี้ เราจะนิยามกฎเกณฑ์สำหรับวิกฤตประชาธิปไตยได้อย่างไร หรือมีค่านิยมกลางสำหรับ

           ประชาธิปไตยหรือไม่ หรือยุคทองของประชาธิปไตยจะถูกวัดได้อย่างไร ?

                 ความท้าทายอีกอย่าง คือ บริบทที่ใช้คำว่าวิกฤตซึ่งอาจทำให้คำนี้ถูกตีความออกไปได้
    การอภิปราย   หลายทาง การตีความที่แตกต่างกันนี้สามารถมองได้สองแบบ คือ หนึ่ง มีการตีความถึงคำว่า

           วิกฤตไปในทางที่เกี่ยวกับกระบวนการหรือการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นในระยะอันใกล้ หรืออีกทางหนึ่ง
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105