Page 101 - kpiebook65043
P. 101
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 101
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
วิกฤตอาจถูกเข้าใจว่าเป็นความวุ่นวาย หรือการรวมตัวกันของจุดพลิกผัน จากการกล่าวว่า
“วิกฤตคือเหตุการณ์ที่วุ่นวาย” วิกฤตจึงมีลักษณะที่ทันที และทำให้เกิดความวุ่นวายในภาวะ
ปกติของระบบการเมือง โดยทั่วไป วิกฤตหมายถึงเหตุการณ์ที่ปรากฏในช่วงเวลาที่จำกัดและ
เกิดความหวาดกลัวต่อระบบการเมืองที่เป็นอยู่ ซึ่งถ้าไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอก วิกฤตก็อาจ
เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาของการทำงานของระบบการเมืองที่มีอยู่เป็นเวลานาน
ในทางตรงกันข้าม วิกฤตที่ซ่อนอยู่ได้สะท้อนเป็นนัยให้เห็นว่าวิกฤตเกิดขึ้นโดยปราศจาก
ข้อสรุปที่สามารถคาดเดาได้อย่างมีแนวทาง ในขณะที่สถาบันทางการเมืองหลักยังคงดำรงอยู่
ประชาธิปไตยก็ค่อย ๆ เปลี่ยนคุณสมบัติและสาระสำคัญก็อาจลดลงหรือค่อย ๆ ถูกกร่อนจาก
ภายใน และแน่นอน ก็อาจจะมีความเชื่อมโยงระหว่างวิกฤตที่ซ่อนอยู่และวิกฤตที่มองเห็นได้
นอกจากนี้ ความท้าทายอีกประการหนึ่งของวิกฤตก็คือวิกฤตไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็น
ระบบ ความท้าทายที่เกิดขึ้นจากวิกฤตมีทั้งส่วนที่ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นตอนแรกและเปลี่ยนจาก
ความท้าทายมาเป็นวิกฤตโดยไม่สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้าได้ โดยวิกฤตเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับ
การกระทำและการตอบสนองของชนชั้นนำทางการเมือง และการตอบสนองระหว่างพลเมือง
ด้วยกัน
แล้วเราควรจะมองอะไร ถ้าเราเชื่อว่าประชาธิปไตยอาจจะต้องเผชิญกับวิกฤต เพื่อที่จะ
นิยามวิกฤตในประชาธิปไตย เราจำเป็นจะต้องมีตัวบ่งชี้ว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าเกิดวิกฤต
วิกฤตที่เฉียบพลันซึ่งได้กล่าวถึงสิ่งที่สร้างความหวาดกลัวให้แก่ชีวิตในระบบได้มักจะเกิดมา
พร้อมกับการก่อตัวขึ้นของกลุ่มที่มีความคิดตรงกันข้ามที่ท้าทายระบบด้วยความรุนแรง ดังนั้น
ตัวบ่งชี้ที่ควรนำมาใช้ชี้วัดว่าเกิดภาวะวิกฤต จึงได้แก่ การเกิดขึ้นของการต่อต้านระบบที่รุนแรง
ความล้มเหลวของการสนับสนุนประชาธิปไตยของพลเมืองและชนชั้นนำ และการเกิดขึ้น
ของเหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น การระดมพลังของมวลชนที่ใช้ความรุนแรง ความพยายาม
ในการก่อรัฐประหาร หรือแม้แต่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ในขณะเดียวกัน ตัวชี้วัดว่ามีวิกฤตแฝงหรือไม่นั้น ก็อาจพิจารณาได้จากความมั่นคงของ
สถาบันที่ใช้อำนาจทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย การเสื่อมถอยของการให้คุณค่า
ในการเลือกตั้ง การลดลงของสิทธิทางการเมือง และตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่บ่งชี้ถึงการมีส่วนร่วมทาง
การเมืองอย่างสันติ
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากตัวชี้วัดของวิกฤตแล้ว จึงอาจกล่าวได้ว่าสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิด
วิกฤตทางการเมือง หรือในที่นี้หมายถึีงวิกฤตของประชาธิปไตย จึงมีที่มา 3 ประการ ได้แก่
1) ข้อบกพร่องในการออกแบบสถาบันทางการเมือง การอภิปราย