Page 102 - kpiebook65043
P. 102

102  สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                 2) ผลของการดำเนินการที่ไม่ดีของสถาบันทางการเมือง นั่นคือ สถาบันทางการเมืองนั้น
           อาจถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี และมีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องที่ดี แต่สุดท้ายผลการดำเนินการ
           ของสถาบันทางการเมืองนั้น ๆ อาจไม่ได้ส่งผลลัพธ์ที่ดีอย่างที่คาดหวัง


                 3) ความชอบธรรมของระบอบการปกครองที่ลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดวิกฤตได้ในท้าย
           ที่สุด

                 ประเด็นต่อไปที่จะต้องพิจารณาต่อจากการพิจารณาเรื่องวิกฤตก็คือ ประเด็นเกี่ยวกับ
           ภูมิทัศน์ใหม่ของประชาธิปไตย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่อาจพบเห็นได้ใน

           รายงานวิจัยหรืองานวิชาการหลายฉบับแล้ว พบว่าประชาธิปไตยโลกกำลังเผชิญกับความท้าทาย
           และวิกฤตอย่างแท้จริง และวิกฤตของประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นทั่วโลกนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึง
           การเกิดขึ้นของภูมิทัศน์ใหม่ของประชาธิปไตยที่สำคัญ และก่อความท้าทายให้กับการดำรงอยู่
           ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเอง 4 ประการ คือ


                 1) การเกิดขึ้นของโลกาภิวัตน์ และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ในบางประเทศ
           ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนี้ได้นำไปสู่การล่มสลายของการอยู่ร่วมกันระหว่างการปกครอง
           ระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง นักวิชาการบางส่วน
           มองว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ก็เกิดจาก

           การนำการปกครองระบอบประชาธิปไตยไปผูกไว้กับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

                 2) ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ได้สร้างวิถีชีวิตและทัศนคติของประชาชนใหม่
           ซึ่งทำให้ประชาชนมีความเป็นปัจเจกมากยิ่งขึ้น เพราะทุกคนสามารถเลือกเสพสื่อที่ตัวเอง
           ต้องการได้ อีกทั้งสื่อดิจิทัลเองก็จะคัดเลือกเนื้อหาเฉพาะที่บุคคลนั้นสนใจมานำเสนอ

           ส่งผลให้การหาฉันทามติทางสังคมไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีการเดียวกันกับแต่ก่อน และสิ่งนี้
           ได้ส่งผลจนทำให้เกิดความผันผวนของประชาธิปไตย ที่สำคัญ การก้าวเข้าสู่ระบบดิจิทัลนี้
           ยังทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงสื่อดิจิทัล ซึ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

           ในรูปแบบใหม่ และสิ่งเหล่านี้เอง ทำให้แนวคิดแบบชาตินิยมและประชานิยมมีเพิ่มมากขึ้น
           เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง

                 3) การเพิ่มขึ้นของความท้าทายต่อวิธีคิดแบบเสรีนิยม และมีการคุกคามต่อแนวคิด
           แบบเสรีนิยมเนื่องจากเห็นว่าประชาธิปไตย และเสรีนิยมอาจไม่สามารถตอบโจทย์บางประการ

           ไม่สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้อีกต่อไป

                 4) ปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อม และเป็นตัวกระตุ้นที่ท้าทายว่า
    การอภิปราย   การปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะสามารถจัดการปัญหาได้หรือไม่ เช่น ปัญหาเรื่อง
           ภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งหลายฝ่ายก็ได้นำเสนอวิธีแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอ

           การแก้ปัญหาด้วยอุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายขวา และสุดท้ายสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็น
           ข้อพิสูจน์ว่า แก้ปัญหาด้วยแนวคิดหรืออุดมการณ์แบบไหนจึงจะมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107