Page 13 - kpiebook65034
P. 13

12  ตัวชี้วัดหลักการมีส่วนร่วม



          เกิดความเชี่ยวชาญในการด�าเนินการเสริมสร้างการมีส่วนร่วม หรือเกิด

          ประสบการณ์ที่ดีในการมีส่วนร่วม และความคิดสร้างสรรค์ของสาธารณชน
          การมีส่วนร่วมเป็นยกระบวนการต่อเนื่อง และไม่มีจ�านวนของขั้นตอน
          ล�าดับกระบวนการที่ชัดเจน แต่เพื่อให้เข้าใจง่าย สามารถแบ่งเป็นล�าดับได้

          4 ขั้น คือ การให้ข้อมูล (inform the public) การฟังสาธารณชน
          (listen to the public) การเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา (engage in

          problem solving) และการพัฒนาความตกลง (develop agreements)
          (Creighton, 2005, pp. 8-9)

                   การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นทั้งเป้าหมายและเป็นกระบวนการ

          ในทางสังคมศาสตร์การมีส่วนร่วมหมายถึงการบูรณาการร่วมกันของ
          แต่ละคน และการท�างานร่วมกันขององค์กรต่างๆ เพื่อท�าให้กระบวนการ
          ทางสังคมที่ดีขึ้น เป้าหมายหลักก็คือการรวมตัวกันทางสังคม ไม่ทิ้งใคร

          ไว้ข้างหลัง และการหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ ในทางด้านการศึกษา
          การมีส่วนร่วมหมายถึงการบูรณาการให้เด็กและเยาวชนเข้าสู่กระบวนการ

          ทางการศึกษาและการก�าหนดรูปแบบทางการศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสีย
          ต่างๆ ก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ทางด้านเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วม
          ยังให้ความส�าคัญกับผู้ที่ท�างานด้วย เช่น ลูกจ้าง พนักงาน โดยค�านึงถึง

          ค่านิยมของผู้มีส่วนได้เสีย ที่รวมประชาชน องค์กรเอกชนและผู้เกี่ยวข้อง
          ต่างๆ เช่นเดียวกันแนวคิดของการมีส่วนร่วมในเรื่องของการบริหาร

          ที่เป็นการด�าเนินการอันน�าไปสู่การตัดสินใจทางการบริหาร ด้วยการเข้ามา
          มีบทบาทในขั้นตอนต่างๆ ของผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เริ่มตั้งแต่ การรับรู้
          ข้อมูล และการแสดงความคิดเห็นเป็นต้น
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18