Page 12 - kpiebook65034
P. 12
11
2. ควำมหมำยและลักษณะของกำรมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) เป็น
การกระจายโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง และการบริหาร
เกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ รวมทั้ง การจัดสรรทรัพยากรของชุมชน
และของชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน
โดยการริเริ่ม การให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็น ให้ค�าแนะน�าปรึกษา
ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ รวมติดตามตรวจสอบ ร่วมรับผล ตลอดจน
การควบคุมโดยตรงจากประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงเป็น
กระบวนการซึ่งประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะ
และเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา
(วันชัย วัฒนศัพท์,ผู้แปล, 2543,น.25-28) รวมทั้งมีการน�าความคิดเห็น
ดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาก�าหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐ
การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการสื่อสารในระบบเปิด กล่าวคือ
เป็นการสื่อสารหลายทาง ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
ประกอบไปด้วยการแบ่งสรรข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้เกี่ยวข้อง และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และเป็นการเสริมสร้าง
ความสามัคคีในสังคม ทั้งนี้ เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเพิ่ม
คุณภาพของการตัดสินใจ การลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลาที่อาจจะ
เกิดขึ้นจากการมีความขัดแย้ง การเห็นต่างและตกลงกันไม่ได้ด้วยเหตุของ
การไม่ยอมรับ ไม่ไว้วางใจกันเป็นต้น การมีส่วนร่วมน�าไปสู่การมีข้อตกลงร่วม
และอาจเกิดฉันทามติได้ ท�าให้ง่ายต่อการน�าไปปฏิบัติ อีกทั้งช่วยหลีกเลี่ยง
การเผชิญหน้าใน ”กรณีที่ร้ายแรงที่สุด” ช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือ
และความชอบธรรม ช่วยให้ทราบถึงความห่วงกังวลของประชาชน และ
ค่านิยมของสาธารณชน รวมทั้ง เป็นการพัฒนาศักยภาพของแต่ละฝ่าย