Page 9 - kpiebook65034
P. 9

8   ตัวชี้วัดหลักการมีส่วนร่วม



           ของรัฐและประชาชนซึ่งเป็นประเด็นสากล ตลอดจนมีการขับเคลื่อน

           ของภาคประชาชนที่ต้องการแสดงความคิดเห็นในการบริหารงาน
           การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในหลายประเทศและแนวโน้ม
           ในทางทฤษฎีของการมีส่วนร่วมตลอดจนการศึกษาวิจัยผลการศึกษา

           พบว่า การมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายประสบความส�าเร็จอยู่ในระดับ
           ท้องถิ่นค่อนข้างมาก และมีการเสนอว่าการด�าเนินการของหน่วยงานของรัฐ

           และผู้บริหารควรจะใช้ความพยายามในการที่จะเพิ่มระดับของการให้
           ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลมากขึ้น ตลอดจนการเสริมสร้าง
           ความพึงพอใจให้กับพลเมืองในการบริหารงานของท้องถิ่น (Edwards,

           2013, pp. 1-28) นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาของนักวิชาการหลายคนที่
           พบว่า การบริการสาธารณะที่มีการด�าเนินการร่วมกันระหว่างภาคส่วน

           ต่างๆ จัดว่ามีความส�าคัญในวงจรของการบริการที่เกิดขึ้น ตลอดจน
           ในกระบวนการด�าเนินการบริการสาธารณะ สามารถแบ่งออกได้เป็น
           สามระดับ คือ ระดับปัจเจก ระดับกลุ่ม และระดับการท�างานแบบหุ้นส่วน

           ตลอดจนมิติของการด�าเนินการมี 4 ช่วงคือ การเปิดโอกาสให้ด�าเนินการ
           การร่วมออกแบบวางแผน การให้บริการสาธารณะ และการประเมินผล

           ซึ่งในมิติเหล่านี้มีตัวอย่างมากมายที่ด�าเนินการจนประสบความส�าเร็จ
           ด้วยการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน (Nabatchi et.al, 2017) นอกจากนี้
           ในยุคปัจจุบันที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะมีการพัฒนาเทคโนโลยี

           ดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ประกอบกับค่านิยมของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป
           รวมทั้งมีการเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว การมีส่วนร่วม

           ของประชาชนทั้งในกระบวนการนโยบายสาธารณะ และในการบริการ
           สาธารณะจึงเป็นสิ่งจ�าเป็น ทั้งนี้ เป้าหมายของการมีส่วนร่วมก็คือ
           เพื่อเสริมสร้างการให้สาธารณชนหรือประชาชนโดยรวมได้มีบทบาทมากขึ้น

           โดยเฉพาะในกระบวนการตัดสินใจ นั่นคือการมีโอกาสมากขึ้นในการ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14