Page 11 - kpiebook65034
P. 11
10 ตัวชี้วัดหลักการมีส่วนร่วม
ส่วนในการพิจารณาตัดสินใจ ประชาชนย่อมมีส่วนร่วม
ในการพิจารณา เสนอแนะ ร่วมตัดสินใจทางการเมือง ร่วมด�าเนินการ
ทั้งนี้ประชาชนและชุมชนย่อมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม
ภูมิปัญญา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิทักษ์ศาสนา พัฒนา
ประเทศ ต่อต้านการทุจริต เป็นต้น และยังเปิดโอกาสให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นและเอกชน มีส่วนร่วมด�าเนินการในการบริการสาธารณะต่างๆ
ประชาชนยังมีสิทธิในการฟ้องรัฐ ติดตาม ตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐ
ประเมินผล ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์
ของกฎหมาย ส�าหรับการเยียวยา ประชาชนย่อมได้รับการเยียวยา
ความเดือดร้อน เสียหายจากผลกระทบ และ รับผลประโยชน์จาก
การด�าเนินการ จึงนับว่า การมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่รับรองโดยรัฐธรรมนูญไทย
แต่การปฏิบัติให้เป็นผลเพื่อความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนของสังคมไทย
ยังมีข้อจ�ากัดอยู่ เพราะหน่วยงานของรัฐมักเข้าใจว่าได้ด�าเนินการแล้ว
แต่ประชาชนบางส่วนยังไม่ยอมรับแนวทางที่รัฐด�าเนินการนั้น ประกอบกับ
ยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและมีมาตรฐานการปฏิบัติงาน รวมทั้งการไม่มี
ตัวชี้วัดที่เข้าใจได้ง่าย สามารถน�าไปสู่การประเมินตนเองเพื่อปรับปรุง
การท�างานให้ดีขึ้น ประกอบกับที่ผ่านมาเคยมีการจัดท�าตัวชี้วัดที่เป็น
รูปธรรม ขึ้นแล้ว (สถาบันพระปกเกล้า, 2564) แต่เพราะสถานการณ์
เปลี่ยนแปลงไป มีรูปแบบของการน�าเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ค่านิยม
ของประชาชนก็ปรับเปลี่ยน ลักษณะของประชากร ยังมีความหลากหลาย
และมีการรองรับสิทธิที่กว้างขวางกว่าแต่ก่อน จึงควรมีการพิจารณา
ทบทวนเพื่อให้สอดคล้องและปรับเข้ากับบริบทต่างๆ อันจะน�าไปสู่การเกิด
ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์