Page 10 - kpiebook65034
P. 10
9
สื่อสารระหว่างหน่วยงานที่ท�าหน้าที่ตัดสินใจ และสื่อสารกับประชาชน
แม้จะต้องใช้เวลาและมีต้นทุนมากขึ้นก็ตาม (Wouters, Hardie-Boys,
& Wilson, 2011; IAP2, 2022) อีกประการหนึ่ง การมีส่วนร่วมถือเป็น
หลักการส�าคัญของธรรมาภิบาลเพื่อให้เกิดความยั่งยืน แต่ความสัมพันธ์
ระหว่างองค์ประกอบเหล่านี้ดูจะเข้าใจยาก (Dinica, 2018) และการมีส่วนร่วม
อย่างแท้จริงมักจะไม่เกิดขึ้น ที่ส�าคัญการเสวนา การสื่อสาร การมีข้อมูล
ข่าวสาร ที่เป็นสิ่งจ�าเป็นในการมีส่วนร่วมยังมีข้อจ�ากัด (Abdullah, 2016)
และประชาชนมักไม่มั่นใจว่าผลของการมีส่วนร่วมจะน�าไปสู่การตัดสินใจ
อย่างไร
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
ได้บัญญัติในเรื่องของการมีส่วนร่วมไว้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ ดังกล่าว
มาข้างต้นว่าการมีส่วนร่วมเป็นองค์ประกอบส�าคัญของธรรมาภิบาล และ
ในรัฐธรรมนูญนี้ได้มีประเด็นการมีส่วนร่วมหลายมาตรา เป็นการมีส่วนร่วม
ที่เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้สามารถริเริ่มกฎหมาย รับรู้ข้อมูล
ข่าวสาร มีส่วนร่วมในการอนุมัติ อนุญาต รับรู้ข้อมูลสาธารณะ มีส่วนร่วม
ในเรื่องการปกครอง การจัดท�ากฎหมาย และการจัดการทุจริต รวมทั้ง
การแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายต่างๆ โดยที่ประชาชนสามารถมีโอกาส
แสดงความคิดเห็นต่อรัฐก่อนการด�าเนินการ ในการจัดท�ายุทธศาสตร์ชาติ
ออกกฎหมายและท�าหนังสือสัญญา เป็นต้น จึงนับว่ารัฐธรรมนูญ
ได้เปิดโอกาสให้มีเรื่องของการมีส่วนร่วมอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน ตั้งแต่
การริเริ่ม ไปจนกระทั่งการรับรู้ การแสดงความคิดเห็น การพิจารณา
หรือร่วมปรึกษาหารือและตัดสินใจ การร่วมด�าเนินการ การฟ้องร้องรัฐ
การติดตามประเมินผล การรับผลและการได้รับการเยียวยาจากรัฐ