Page 18 - kpiebook65034
P. 18
17
ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น ท�าให้การมีส่วนร่วม
เป็นเรื่องที่ประชาชนมีความหวัง เป็นเรื่องที่ประชาชนรู้ว่าเราสามารถที่จะ
บรรลุความหวังได้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการส�าคัญของประชาธิปไตย
และสิทธิมนุษยชน
การเคลื่อนไหวของสังคมที่ให้ความส�าคัญกับอ�านาจนิยม
ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 ท�าให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน
ของรัฐและประชาชน ในลักษณะที่ประชาชนเป็นผู้รับ รัฐเป็นผู้ให้
ต่อมาในยุคศตวรรษที่ 21 มีการขับเคลื่อนของภาคประชาชนที่ต้องการ
แสดงความคิดเห็นในการบริหารงาน มีการศึกษาวิจัยที่ผลการที่ศึกษา
พบว่า การมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย มีทิศทางที่น�าไปสู่ความส�าเร็จ
ในระดับท้องถิ่น และยังเสนอว่าการด�าเนินการของหน่วยงานของรัฐและ
ผู้บริหารควรจะใช้ความพยายามในการเพิ่มระดับของการให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ตลอดจนการเสริมสร้างความพึงพอใจให้กับ
ประชาชนในการบริหารงานของท้องถิ่น (Edwards, 2013, pp. 1-28)
นอกจากนี้ยังพบว่า การบริการสาธารณะเป็นการด�าเนินการร่วมกัน
ระหว่างภาคส่วนต่างๆ และมีความส�าคัญในวงจรของการบริการมากขึ้น
ทั้งนี้กระบวนการด�าเนินการสามารถแบ่งออกได้เป็นสามระดับ คือ
ระดับปัจเจก ระดับกลุ่ม และระดับการท�างานแบบหุ้นส่วน ตลอดจน
มีมิติของการด�าเนินการเป็น 4 ช่วง คือ การเปิดโอกาสให้ด�าเนินการ
ร่วมออกแบบวางแผนการให้บริการสาธารณะ และการประเมินผล
ซึ่งในมิติเหล่านี้มีตัวอย่างมากมายที่ด�าเนินการประสบความส�าเร็จ
ด้วยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ (Nabatchiet.al., 2017)