Page 54 - kpiebook65030
P. 54

53


              บอกว่า อำานาจตุลาการเป็นของศาลฎีกา จะเห็นว่า 3 มาตรานี้ตรงตามหลักการ
              แบ่งแยกอำานาจ ตามที่พวกเราคุ้นเคยกัน แต่จะสังเกตุเห็นว่าเขาไม่ได้พูดถึง

              เรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน พูดถึงแค่เรื่องโครงสร้างทางการเมือง ซึ่งต่อมา
              เมื่อมีคนเรียกร้องก็จะมีการเพิ่มเติมเรื่องเหล่านี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นที่มาของ

              การแก้ไขรัฐธรรมนูญในแต่ละครั้ง




              จิตวิญญำณรัฐธรรมนูญ

                       เหตุการณ์ช่วงการประท้วงในสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อว่า Black Lives

              Matter ซึ่งประเด็นการเรียกร้องเขาพูดถึงเรื่องความเท่าเทียมของคนผิวสี
              ในประเทศของเขา ทั้ง ๆ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาให้ความสำาคัญกับความเท่าเทียม
              มาก รศ.ดร.มานิต กล่าวว่า เรื่องสีผิวในสหรัฐอเมริกา เขาต่อสู้มาอย่างยาวนาน

              กว่า 200 ปี หากเราไปที่ประเทศเขา พวกเรา (คนเอเชีย) ก็อาจโดนเหยียดสีผิวได้
              และปัญหาเรื่องสีผิว ณ ขณะนี้ก็ยังไม่จบ ทุกครั้งที่ผู้ต้องหากระทำาความผิดแล้ว

              เป็นคนผิวสี ก็จะได้รับการปฏิบัติที่ไม่เท่ากัน แม้จะรัฐธรรมนูญจะรับรอง
              ความเท่าเทียมกันของมนุษย์ แต่เวลาที่นำาไปปฏิบัติ เรื่องสีผิวนี้ก็ไม่สามารถ
              ทำาตามรัฐธรรมนูญได้ เป็นแค่ลายลักษณ์อักษรในเอกสาร เรื่องสีผิวนี้ รัฐธรรมนูญ

              ยังไม่สามารถทำาให้กลายเป็นจิตวิญญาณของคนในชาติได้

                       เมื่อมาดูที่รัฐธรรมนูญไทย เราก็มีเรื่องพวกนี้คล้าย ๆ กัน นั่นคือ

              การแถลงคดีของตำารวจ ซึ่งรัฐธรรมนูญเรามีหลักว่า ในคดีอาญา ให้สันนิษฐาน
              ไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำาพิพากษาอันถึงที่สุด
              แสดงว่าบุคคลใดได้กระทำาความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำา

              ความผิดมิได้ แต่การแถลงคดีของตำารวจมันแย้งต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน
              อย่างไรก็ตาม สังคมก็ไม่ได้มีการร้องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยจนเป็นข้อยุติ
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59