Page 50 - kpiebook65030
P. 50

49


               สภาไม่ได้ พวกเขาจึงใช้อีกช่องทางหนึ่งคือ การใช้ความเป็นกฎหมายสูงสุดของ
               รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติทางเพศ ว่าประมวล

               กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม
               ศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยว่า มาตราดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรมนูญ อันนี้เป็นกรณี

               ศึกษาหนึ่งที่บอกได้ถึงความศักดิ์สิทธิของรัฐธรรมนูญ แต่อาจจะเป็นกรณีศึกษา
               ทึี่ล้มเหลวในการแก้ไขกฎหมาย

                       ทีนี้มาดูกรณีศึกษาที่ประสบความสำาเร็จในการแก้ไขกฎหมายบ้าง

               มีประเด็นขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญที่ว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301
               ซึ่งใจความสำาคัญคือการห้ามมีการทำาแท้ง หรือการทำาแท้งเป็นความผิดทางอาญา

               เว้นสองกรณีคือ การปล่อยให้ตั้งครรภ์ต่อไปจะเป็นอันตรายต่อมารดา และ
               มารดาตั้งครรภ์เพราะเหตุแห่งการกระทำาความผิดทางอาญา เช่น พวกข้อหา
               ข่มขืนต่าง ๆ  จึงจะสามารถทำาแท้งได้ตามกฎหมายไทย ปรากฏว่าก็มีฝ่ายที่

               เห็นว่าการทำาแท้งควรทำาได้อย่างเสรี เพราะมีหลายกรณีที่ฝ่ายหญิงไม่พร้อมต่อ
               การตั้งครรภ์ แต่ไม่สามารถทำาได้ตามกฎหมายไทย คนที่มีทรัพย์สินก็จะเดินทาง

               ไปประเทศที่กฎหมายอนุญาตให้ทำาได้ ซึ่งจะเกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน
               ตามมา ฝ่ายที่ว่านั้นก็เลยเสนอกฎหมายเข้าสภา แต่สภาไม่ผ่านกฎหมายนี้ให้
               ท้ายที่สุด ฝ่ายที่ว่านั้นก็ได้ใช้ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ร้องศาลว่า

               ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในส่วนของสิทธิ
               ในชีวิตร่างกาย ด้วยเหตุผลที่ว่ากฎหมายมาตรานี้คุ้มครองทารกซึ่งยังไม่คลอด

               ยังไม่มีสภาพบุคคล แต่ไม่ได้คุ้มครองมารดา ทั้งที่เป็นร่างกายของพวกเธอ
               ศาลรัฐธรรมนูญจึงตัดสินว่ากฎหมายมาตรานี้ขัดรัฐธรรมนูญ ให้รัฐสภาแก้ไข
               และสภาก็แก้ไขเสร็จเมื่อตอนต้นปี 2564 สาระสำาคัญคือ สามารถให้ยุติ

               การตั้งครรภ์ได้ภายในระยะเวลา 12 สัปดาห์ ซึ่งได้สัดส่วนระหว่างการคุ้มครอง
               ทารกในครรภ์กับการคุ้มครองชีวิตร่างกายมารดา
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55