Page 335 - kpiebook65024
P. 335
334 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
หรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง อ�านาจหน้าที่จัดท�ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้าน
สิทธิมนุษยชนของประเทศเสนอต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อประชาชน
การเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุง
กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือค�าสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
การชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ตลอดจนการสร้าง
เสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความส�าคัญของสิทธิมนุษยชน
3.3 การควบคุมตรวจสอบการใช้อ�านาจของรัฐ
โดยองค์กรตุลาการ
การควบคุมและตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐโดยองค์กรตุลาการ ถือเป็น
การควบคุมและตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐที่ส�าคัญที่สุด เนื่องจากเป็นระบบ
การควบคุมและตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกที่เป็นอิสระ ภายใต้หลักการที่กล่าวว่า
“รัฐใดรัฐหนึ่งไม่อาจถือได้ว่าเป็น “นิติรัฐ” ได้หากรัฐนั้นปราศจากการควบคุม
และตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการ” เนื่องจากฝ่ายเป็นองค์กรอิสระที่อยู่ภายใต้หลัก
ความเป็นอิสระของผู้พิพากษา และมีกฎหมายก�าหนดวิธีพิจารณาเป็นการเฉพาะ
เพื่อเป็นการคุ้มครองความเป็นธรรมในการด�าเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ ให้เป็นไป
อย่างถูกต้องและเป็นธรรม ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญได้ก�าหนดให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
เป็นอ�านาจของศาล ซึ่งต้องด�าเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธย
พระมหากษัตริย์ ผู้พิพากษาและตุลาการย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นธรรม และปราศจากอคติ