Page 340 - kpiebook65024
P. 340
339
(1) การเข้าชื่อของประชาชนเพื่อถอดถอนผู้ด�ารงต�าแหน่งทางการ
เมือง
การเข้าชื่อของประชาชนเพื่อขอให้มีการถอดถอนผู้ด�ารงต�าแหน่งทางการเมือง
เป็นกลไกที่ส�าคัญประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy)
กล่าวคือ เป็นกรณีที่กฎหมายได้ก�าหนดให้สิทธิกับประชาชนในฐานะเจ้าของอ�านาจ
อธิปไตยที่จะสามารถรวบรวมรายชื่อของประชาชนที่สนับสนุนประเด็นดังกล่าวเพื่อ
เสนอต่อหน่วยงานของรัฐที่มีอ�านาจหน้าที่ เพื่อให้ด�าเนินการถอดถอนผู้ด�ารงต�าแหน่ง
ทางการเมืองออกจากต�าแหน่งก่อนที่จะครบวาระ กรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
ผู้ด�ารงต�าแหน่งทางการเมืองดังกล่าวมีพฤติการณ์ร�่ารวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริต
ต่อหน้าที่ ส่อว่ากระท�าผิดต่อต�าแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระท�าผิดต่อต�าแหน่งหน้าที่
ในการยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อ�านาจหน้าที่ใดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือ
กฎหมาย หรือเหตุอื่น ทั้งนี้ ตามที่รัฐธรรมนูญก�าหนด ซึ่งกลไกดังกล่าวมีทั้งการเข้าชื่อ
เพื่อเสนอให้มีการถอดถอนผู้ด�ารงต�าแหน่งทางการเมืองออกจากต�าแหน่งก่อนครบวาระ
ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม กลไกดังกล่าวนี้เป็นแต่เพียงก�าหนดให้
ประชาชนเป็น “ผู้ริเริ่ม” ให้มีการด�าเนินการเท่านั้น ส่วนอ�านาจในการลงมติถอนถอน
หรืออ�านาจในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายยังคงเป็นขององค์กรของรัฐตามที่รัฐธรรมนูญก�าหนด
(2) การเสนอเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน
การควบคุมตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐโดยประชาชนที่เป็นเครื่องมือส�าคัญ
อีกประการหนึ่ง ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ การก�าหนดให้
ประชาชนสามารถ “เสนอเรื่องร้องเรียน” ต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ตรวจสอบ
ความชอบด้วยกฎหมายของการด�าเนินการของหน่วยงานของรัฐได้ ทั้งนี้ ภายใต้ขอบอ�านาจ
ของผู้ตรวจการแผ่นดินตามที่รัฐธรรมนูญก�าหนด ช่องทางนี้เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่