Page 228 - kpiebook65024
P. 228

227



                     3.2 องค์กรอิสระของสหราชอาณาจักร


                  มารีย์ - โฌเซ่ เกด็อง อธิบายว่า โครงสร้างของฝ่ายปกครองของสหราชอาณาจักร

           มีการด�าเนินภารกิจทางปกครองกระท�าโดยองค์กรจ�านวนมากที่มีความเป็นอิสระจากรัฐ
           และจากราชการส่วนกลาง ซึ่งบริบทนี้เอื้อต่อการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาเป็นจ�านวนมาก

           ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ตามวิธีคิดของชาวอังกฤษซึ่งนิยมการแก้ปัญหา
           เฉพาะเรื่องเป็นกรณี องค์กรเหล่านี้มีชื่อเรียกหลากหลายแต่รู้จักภายใต้ชื่อสามัญว่า

           “Quasi – autonomous Non-governmental organizations” หรือ “Quangos”
           ในสหราชอาณาจักรมีการจัดตั้ง Quangos เป็น จ�านวนมากเพื่อด�าเนินการในด้านต่าง ๆ

           ที่มีความหลากหลายกันมากไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และภารกิจ
           อาจจะเป็นทางปกครองหรือการวินิจฉัยข้อพิพาท การจัดตั้งองค์กรเหล่านี้ขึ้นมาอาจ

           จะมีวัตถุประสงค์ในการปลดเปลื้องภารกิจบางประการที่กระทรวงไม่อยากท�าเอง
           ไปให้องค์กรเหล่านี้ท�าแทนหรืออาจจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีส่วนร่วมจากตัวแทน

           ของวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่ง จ�าเป็นต้องมีความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง หรืออาจจะ
           มีวัตถุประสงค์ที่จะให้องค์กรเหล่านี้หลุดพ้นจากอิทธิพลทางการเมือง เพื่อจะได้ปกป้อง

           คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ดียิ่งขึ้นและลักษณะองค์กรเหล่านี้จะเป็น
           องค์กรหมู่เสมอ โดยมีความเป็นอิสระระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะยังอยู่ภายใต้การก�ากับดูแล

           ของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอ�านาจแต่งตั้งหรือคัดเลือกผู้ด�ารงต�าแหน่งในองค์กรเหล่านี้
           และรัฐมนตรีเป็นผู้ตอบกระทู้ถามที่เกี่ยวกับองค์กรเหล่านี้ในรัฐสภา รัฐมนตรีเป็น

           ผู้รับผิดชอบแนวทางการด�าเนินงานและงบประมาณขององค์กรเหล่านี้

                  มิแช็ล ฌ็องโต้ อธิบายว่า ในสหราชอาณาจักร ราชการส่วนกลางยอมรับ

           หลักการให้มีสถาบันที่ได้รับการกระจายอ�านาจ ซึ่งมีความอิสระในการด�าเนินการได้
           ในระดับหนึ่งและมีความสามารถในการบริหารจัดการด้วยตนเองจึงมีการจัดตั้งองค์กร
   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233