Page 233 - kpiebook65024
P. 233
232 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้องค์กรอิสระยังเป็นเป็นองค์กรที่ถูกแทรกแซงจาก
บุคคลภายนอกได้ง่าย เนื่องจากบางองค์กรขององค์กรอิสระนั้นไม่ได้เป็นองค์กร
ที่เกิดขึ้นใหม่แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติ
ยกสถานะให้เป็นองค์กรอิสระ ท�าให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพรวมถึง
การปรับทัศนคติของบุคลากรให้เข้ากับภารกิจที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง ตลอดจน
ความไม่พร้อมในวิธีการสรรหาและคัดเลือกผู้ด�ารงต�าแหน่งในองค์กรอิสระท�าให้เกิด
ความอ่อนแอจากการถูกแทรกแซงการใช้อ�านาจของฝ่ายรัฐบาล ต่อมาวันที่ 19 กันยายน
พ.ศ. 2549 เกิดการท�ารัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต่อมาแปรสภาพเป็นคณะมนตรีความมั่นคง
แห่งชาติ (คมช.)
ภายหลังจากที่คณะรัฐประหารเข้ายึดอ�านาจเมื่อปี พ.ศ. 2549 จึงได้มีการตรา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ขึ้น รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว
มีเนื้อหาที่มุ่งให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองโดยให้ความส�าคัญกับการสร้างดุลยภาพ
ของอ�านาจฝ่ายต่าง ๆ ในระบบทางการเมือง การก�าหนดให้มีการแยกประเภท
ขององค์กรอิสระนี้ท�าให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด�ารงต�าแหน่งทางการเมือง
ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองซึ่งเคยเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เปลี่ยนสถานภาพไปอยู่ในประเภทองค์กรตุลาการ
ส่วนองค์กรอิสระที่เหลือได้จัดแบ่งใหม่ออกเป็น 2 ประเภท (นิยม รัฐอมฤต และ
อุดม รัฐอมฤต, 2562) ดังนี้
1) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ อันประกอบด้วย คณะกรรมการ
การเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน