Page 223 - kpiebook65024
P. 223
222 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
แต่ก็เป็นร่องรอยพัฒนาการขององค์กรอิสระในประเทศไทย เช่น การจัดตั้งส�านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎี พุทธศักราช 2476
ซึ่งต่อมาก็พัฒนามาสู่การจัดตั้งศาลปกครองในที่สุด ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับองค์กรอิสระ
เหล่านี้ไทยได้รับอิทธิพลมาจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
ผ่านการศึกษาวิจัยของนักวิชาการที่ส�าเร็จการศึกษาจากประเทศนั้น ๆ หรือการไป
ศึกษาดูงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือนักการเมือง
อย่างไรก็ดี การจัดตั้งองค์กรอิสระมีผลเป็นรูปธรรมเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ทาง
การเมืองพฤษภาทมิฬ ช่วงวันที่ 17- 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ได้เกิดเหตุการณ์ปะทะกัน
ระหว่างกลุ่มเจ้าหน้าที่ต�ารวจทหารกับกลุ่มนักศึกษา ประชาชนผู้ชุมนุมเพื่อต่อต้าน
การสืบทอดอ�านาจจากการท�ารัฐประหารของพลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี
เมื่อเหตุการณ์สงบลงได้มีการเรียกร้องให้ปฏิรูปทางการเมือง ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ในปี 2539 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ
หรือสสร. และน�าเข้าสู่กระบวนการศึกษาวิจัยและยกร่างรัฐธรรมนูญโดยออกแบบกลไก
ในการตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาวินิจฉัย การตรวจสอบชี้มูล
หรือการตรวจสอบเสนอความเห็นเพิ่มเติมจากระบบปกติที่มีอยู่ในระบบการเมือง
และการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อเสริมสร้างกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลอ�านาจ
ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งในขณะนั้นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองถูกนักวิชาการ
หรือชนชั้นกลางมองว่ามักใช้อ�านาจในทางมิชอบหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน
ทั้งในทางตรงและทางอ้อม การจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นจึงเป็นมาตรการเสริมกระบวนการ
ตรวจสอบถ่วงดุลอ�านาจในระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ
ที่มีอยู่เดิม (อมร จันทรสมบูรณ์, 2539) โดยเฉพาะฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นฝ่ายที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นฝ่ายที่จัดตั้งรัฐบาล ท�าให้
สภาผู้แทนราษฎรซึ่งโดยระบบมีหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบคณะรัฐมนตรี ไม่อยู่ใน