Page 68 - kpiebook65015
P. 68

67



           จึงเป็น “ระบบสัดส่วน” นั่นคือพรรคการเมืองแต่ละพรรคจะได้ ส.ส. ตามสัดส่วน
           คะแนนที่ได้ โดยขั้นตอนในการค�านวณจ�านวน “ส.ส. พึงมีได้” จนถึงการค�านวณจ�านวน

           ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ทั้งรัฐธรรมนูญมาตรา 90 (1) (2) และ (3) และพระราชบัญญัติ
           ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 (1) (2) และ (3) ก�าหนดไว้

           เหมือนกัน เกือบ ทั้งหมด ดังนี้

                  (1) หำจ�ำนวนคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. หนึ่งคน: ขั้นตอนแรกคือ น�าคะแนน

           ทั้งหมดที่เลือกผู้สมัครของพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ หารด้วยจ�านวน
           ส.ส. ทั้งหมดคือ 500 คน (รัฐธรรมนูญมาตรา 91 (1) และ พ.ร.ป. เลือกตั้ง ส.ส. มาตรา

           128 (1)) โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้เมื่อหักบัตรเสีย งดออกเสียง และคะแนนของพรรค
           ที่ไม่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อแล้ว คะแนนทั้งหมดคือ 35,561,556 เมื่อหารด้วย 500

           ผลลัพธ์คือ 71,123.1120  ซึ่งเป็นจ�านวนคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. หนึ่งคน ทั้งนี้ใช้ทศนิยม
                               56
           ถึง 4 หลักตาม พ.ร.ป. เลือกตั้ง มาตรา 128 วรรคหนึ่งก�าหนด


                  (2) หำจ�ำนวน “ส.ส. พึงมีได้” ของแต่ละพรรค: จากนั้นน�าผลลัพธ์นี้ไปหาร
           จ�านวนคะแนนของแต่ละพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ (รัฐธรรมนูญ

           มาตรา 91 (2) และ พ.ร.ป. เลือกตั้ง มาตรา 128 (2)) ขั้นตอนที่ 2 นี้คือเอาคะแนน

           71,123.1120 มาหารคะแนนรวมของแต่ละพรรค ผลลัพธ์ที่ได้คือจ�านวน ส.ส.
           ที่แต่ละพรรคจะได้ หรือ “ส.ส. พึงมีได้” ซึ่งมักจะเรียกกันโดยสั้นว่า “ส.ส. พึงมี”





           56    ตัวเลขเดิมคือ 71,057.4980 ที่กลายเป็นจ�านวนนี้เพราะมีการเลือกตั้งซ่อมที่เขต 8 จังหวัด
           เชียงใหม่ ท�าให้คะแนนเปลี่ยนแปลง โปรดดู หลักเกณฑ์และวิธีกำรค�ำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรำยชื่อ
           ประกำศครั้งที่ 2 (วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ข้อสังเกตคือ กกต. ประกาศโดยไม่มีการลงนามผู้ประกาศ
           และวันที่) https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20190528140635.pdf
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73