Page 70 - kpiebook65015
P. 70

69



           แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเกินจ�านวน “ส.ส. พึงมีได้” แล้ว จะไม่ได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออีก
           ซึ่ง พ.ร.ป. เลือกตั้ง มาตรา 128 (5) เขียนเหมือนรัฐธรรมนูญมาตรา 91 (4) ทุกประการ


                  สรุปคือ ในขั้นตอนแรกถึงตรงนี้เหมือนกัน เกือบ หมดทั้งในรัฐธรรมนูญ
           มาตรา 91 และใน พ.ร.ป. เลือกตั้งมาตรา 128 ที่ต่างกันคือ พ.ร.ป. เลือกตั้งมาตรา

           128 (2) และ (3) มีค�าว่า “เบื้องต้น” มาต่อท้าย “จ�านวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
           ที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ” และในเรื่องวิธีการค�านวณของแต่ละสูตรถึงตรงนี้

           ก็เหมือนกันหมด สิ่งที่ต่างกันคือขั้นตอนที่ 4 ที่จะได้กล่าวถึงต่อไป



                    3.2.2 การค�านวณจ�านวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ :

                      สูตรค�านวณของ กกต. ที่แตกต่างไปจาก

                        วิธีการค�านวณที่เข้าใจกันก่อนเลือกตั้ง


                  พ.ร.ป. เลือกตั้ง มาตรา 128 (4) ได้ก�าหนดขั้นตอนที่ 4 ไว้ ซึ่งไม่มีรัฐธรรมนูญ

           มาตรา 91 คือก�าหนดว่า “จัดสรรให้พรรคการเมืองตามผลลัพธ์ตาม (3) เป็นจ�านวนเต็ม
           ก่อน” ซึ่งผลลัพธ์ตาม (3) ก็คือ จ�านวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ ทั้งนี้ มาตรา 128 (4) ก�าหนด

           ต่อไปว่า “หากยัง ไม่ครบ จ�านวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน” ก็ให้ “พรรคการเมืองที่มีเศษ
           จากการค�านวณมากที่สุดได้รับการจัดสรรจ�านวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีกหนึ่งคน

           ตามล�าดับจนครบจ�านวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน” โดยเขียนซ�้าพร้อมกับก�าหนดวิธีการ
           กรณีมีพรรคการเมืองที่มีเศษเท่ากันไว้ในวงเล็บ (6) ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือ หากค�านวณ

           แล้วพรรคการเมืองได้รับจ�านวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อรวมกันแล้ว เกิน 150 คน
           มาตรา 128 (7) ก็ให้ “ด�าเนินการค�านวณปรับจ�านวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อใหม่

           โดยค�านวณตามอัตราส่วน … ซึ่งเมื่อรวมแล้วไม่เกินหนึ่งร้อยห้าสิบคน”
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75