Page 63 - kpiebook65015
P. 63
62 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(5) ประชำชนไม่สำมำรถเลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบ
บัญชีรำยชื่อแตกต่ำงคนละพรรคได้ : กรณีที่ผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครแบบ
บัญชีรายชื่อ และว่าที่นายกรัฐมนตรี ที่ประชาชนต้องการเลือกอยู่ในพรรคเดียวกันหมด
ก็ไม่มีปัญหาใดส�าหรับประชาชนในการลงคะแนน แต่ส�าหรับประชาชนเป็นจ�านวน
มากนั้น คนที่ประชาชนอยากเลือกอาจจะไม่ได้อยู่ในพรรคเดียวกัน กรณีของผู้สมัคร
แบบบัญชีรายชื่อซึ่งก็คือการเลือกพรรค ก็คงจะไปด้วยกันได้กับว่าที่นายกรัฐมนตรี
แต่ส�าหรับผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่อยากเลือกกับพรรคหรือว่าที่นายกรัฐมนตรี
ที่ชอบ อาจจะไม่ไปด้วยกัน ถ้าชอบผู้สมัครแบบแบ่งเขต แต่ไม่ชอบพรรค หรือในทาง
กลับกันชอบพรรค แต่ไม่ชอบผู้สมัครแบบแบ่งเขต หรือกรณีประชาชนที่อยากเลือก
พรรคใดพรรคหนึ่ง แต่พรรคนั้นไม่ส่งผู้สมัครในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิ นี่คือปัญหา
ประการแรกที่กระทบต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยตรง
จากการเก็บข้อมูลแบบสุ่มตัวอย่างในวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ผู้วิจัย
พบว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่มีปัญหานี้ (เนื่องจากผู้สมัครอยู่ในพรรคที่ชอบ หรือพรรค
ส่งผู้สมัครที่ชอบ) มีเพียง 35.08 % ขณะผู้ที่ต้องตัดสินใจเลือกอย่างหนึ่งอย่างใดสูงถึง
64.9 % โดย 46.94 % ตัดสินใจเลือกพรรค (แม้ว่าจะไม่ชอบผู้สมัครแบบแบ่งเขต
หรือมีผู้สมัครคนอื่นที่ชอบมากกว่า) และมี 17.97 % ตัดสินใจเลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขต
(แม้ว่าจะไม่ชอบพรรค หรือมีพรรคที่ชอบมากกว่า) หมายความว่าปัญหานี้มีอยู่จริง
โดยประชาชนที่ประสบปัญหานี้เลือกจากพรรคมากกว่าเลือกจากผู้สมัคร ซึ่งสอดคล้อง
กับการเก็บข้อมูลที่พบว่า ประชาชนตัดสินใจโดยเลือกเพราะนโยบายพรรค 42.1 %
เลือกเพราะผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ 10.36 % และ 33.9 % เลือกจากว่าที่
นายกรัฐมนตรีของพรรค โดยมีเพียง 13.64 % เท่านั้นที่เลือกจากตัวผู้สมัครแบบ
แบ่งเขตเลือกตั้ง หมายความว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ตอบแบบสอบถามเลือกพรรคเป็นหลัก
สูงถึง 86.3 % ข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการท�าสนทนา
กลุ่มทั้ง 4 ภาค และกรุงเทพมหานคร ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกจากพรรคเป็นหลัก