Page 26 - kpiebook65012
P. 26

26



                 8.2 ในการพิจารณาประเด็นเรื่องพื้นที่สีเขียว ยังมีเรื่องที่ยัง
        ไม่เป็นที่ตกลงร่วมกันในมุมมองที่มีต่อพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร

        โดยเฉพาะว่าชนิดของพื้นที่สีเขียว การเข้าถึงพื้นที่สีเขียว และมาตรฐาน
        ของพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานครว่าได้มาตรฐานตาม WHO หรือไม่


                 เมื่อพูดถึงพื้นที่สีเขียว จะต้องแยกพื้นที่ส�าคัญสองส่วนออก
        จากกัน คือ พื้นที่เกษตร (รวมทั้งพื้นที่สีเขียวที่เป็นของเอกชน) กับพื้นที่
        สวนสาธารณะ เพราะพื้นที่เกษตรนั้นเป็นพื้นที่ที่ประชาชนอาจจะเข้าถึง

        ไม่ได้ในเชิงนันทนาการ และการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ที่ดินเป็นเรื่องของ
        เจ้าของที่ดินเอกชนเหล่านั้น


                 ในกรณีของกรุงเทพมหานครนั้น เราจะพบว่าเมื่อแยกพื้นที่สีเขียว
        ที่เป็นพื้นที่เกษตร และพื้นที่เอกชนออกไปจากพื้นที่สวนสาธารณะที่ดูแล

        โดยกรุงเทพมหานคร พื้นที่สวนสาธารณะที่ดูแลโดยกรุงเทพมหานคร
        จะมีปริมาณน้อยกว่าสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวในมาตรฐานของ WHO ที่
        รับรู้กันว่าควรมีพื้นที่สีเขียวอยู่ที่ 9 ตารางเมตร/คน แต่กรุงเทพมหานคร

        มีสัดส่วนพื้นที่สวนสาธารณะ (ในความรับผิดชอบของส�านักสิ่งแวดล้อม
        และส�านักงานเขตต่าง ๆ) ต่อจ�านวนประชากรอยู่ที่ 7.11 ตารางเมตร/คน

                 8.3 ประเด็นท้าทายของการจัดเก็บและก�าจัดขยะมูลฝอย

        ในกรุงเทพมหานครนั้นจะพบว่า กรุงเทพมหานครได้ทุ่มเทงบประมาณ
        เป็นอย่างมากในการจัดเก็บขยะ แต่ไม่สามารถจัดเก็บรายได้อย่างเพียงพอ

        ในการแก้ปัญหาดังกล่าว เห็นได้จากการชะลอขึ้นค่าขยะและการรับ
        ภาระค่าธรรมเนียมส่วนเกิน กรุงเทพมหานครยังไม่สามารถลดปริมาณ
        ขยะได้ ทั้งโดยระบบการคัดแยกขยะที่ยังไม่เป็นบริการขั้นพื้นฐานของ
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31