Page 29 - kpiebook65012
P. 29

การเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานครจากอดีตถึงการครองอ�านาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ :
         บทส�ารวจประเด็นการเมืองในมิติของการเลือกตั้งท้องถิ่นและปัญหาการพัฒนากรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2518-2565)  29


          อิทธิพลของสื่อต่อการรณรงค์ ศึกษารูปแบบการรณรงค์หาเสียง ศึกษา
          ความคาดหวังทางการเมือง แต่ไม่มีงานวิจัยว่าด้วยเรื่องพฤติกรรม

          การเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานครที่ท�าความเข้าใจเรื่องของ
          ปัญหาความขัดแย้ง หรือ ผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกิดจากโครงการของ
          กรุงเทพมหานครในฐานะหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีผลต่อการเลือกตั้ง

          ในแต่ละครั้ง หรือกล่าวอีกอย่างก็คือไม่มีการศึกษาเงื่อนไขในเชิงพลวัต
          ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง

          การแบ่งเรื่องของการตัดสินใจเลือกหรือลงสมัคร เป็นการแบ่งในลักษณะ
          การศึกษาว่า ประชาชนเลือกพรรค หรือตัวบุคคล ทั้งที่จริงแล้ว ประชาชน
          ก็มีข้อมูลอยู่ไม่น้อยว่าตัวผู้สมัครบางคนในบางยุคสมัยนั้นแม้จะลงในนาม

          อิสระ/กลุ่มอิสระ แต่เกี่ยวโยงกับพรรคบางพรรค

                  ข้อค้นพบที่ส�าคัญอีกประการหนึ่งในการศึกษาการเลือกตั้ง

          ท้องถิ่นในกรุงเทพมหานครก็คือเรื่องของการพูดถึงบริบททางการเมือง
          ที่มีผลต่อการเลือกตั้งท้องถิ่น แต่เป็นมิติที่ว่าบริบททางการเมืองในระดับชาติ

          ต่างหากที่มีผลต่อการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นในกรุงเทพมหานคร อาทิ
          ความขัดแย้งทางการเมืองของพรรคใหญ่ หรือ การครองอ�านาจของ
          ผู้น�าทางการเมืองหรือพรรคการเมืองบางพรรค


                  รายงานฉบับนี้น�าเสนอแนวทางการศึกษาและพัฒนาการของ
          การศึกษาการเมืองนครและการเลือกตั้งท้องถิ่นในระดับนครก็เพื่อชี้ชวนให้

          เห็นถึงความเป็นไปได้ว่าการศึกษาการเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานคร
          ที่มีลักษณะของการเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของประเทศอื่น โดยเฉพาะ

          ในระดับหลักคิด
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34