Page 32 - kpiebook65012
P. 32

32



        9) มีความพยายามในการน�าเสนอทางออกในการท�าความเข้าใจการเมือง
        และการลงคะแนนเสียงในท้องถิ่นเขตเมืองอย่างเป็นระบบโดยเชื่อม

        ประสานทุกอย่างเข้าด้วยกัน

                 ที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่างานศึกษาของประเทศไทยไม่ได้

        จัดวางความส�าคัญเรื่องความขัดแย้งไว้เป็นแกนกลางของเรื่องการศึกษา
        การเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร การท�าการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่เน้น
        เก็บข้อมูลตัวอย่างมากกว่าการสะสมองค์ความรู้ในระยะยาว จากยุคสมัย

        ที่แตกต่างกัน และไม่สามารถหาลักษณะพิเศษที่เกิดขึ้นในพื้นที่
        กรุงเทพมหานครที่เหมือนหรือแตกต่างจากการเมืองระดับชาติได้อย่าง

        ชัดเจน การท�าการศึกษาเชิงคุณภาพหรือที่มีคุณภาพในการไล่เรียง
        พัฒนาการในภาพรวมของการเมือง กทม. ไม่มีเป็นชิ้นเป็นอัน งานวิจัย
        ส่วนใหญ่พอใจที่จะอธิบายปรากฏการณ์การเลือกตั้งหลังเหตุการณ์

        เป็นการเฉพาะไปเป็นกรณี ๆ ไป เราไม่เข้าใจหรือไม่เคยเข้าใจความขัดแย้ง
        ที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เป็นจริงจากโครงการพัฒนาที่เป็นอยู่

        ที่เชื่อมโยงกับการเลือกตั้ง การศึกษาพื้นที่ชุมชนแออัดไม่ถูกขับเน้นใน
        เงื่อนไขของความสัมพันธ์ทางอ�านาจและภาพรวมของพัฒนาการของ
        เศรษฐกิจการเมืองของกรุงเมพมหานคร ชัยชนะและการพ่ายแพ้ของ

        ผู้สมัครแต่ละรายแต่ละครั้งให้ความส�าคัญกับการเก็บตัวอย่างส�ารวจ
        ผ่านแบบสอบถามผ่านความเคร่งครัดในระเบียบวิธีวิจัยทางสถิติมากกว่า

        ความรู้ในภาพรวมที่จะได้รับที่สามารถสะสมต่อเนื่องกันในระยะยาวนับ
        ตั้งแต่การเลือกตั้งท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2528 เรามอง
        ไม่เห็นภาพของคนต่างจังหวัด ภาพของคนชั้นกลางในเมืองที่อาจเป็น

        คนต่างจังหวัดแล้วเติบโตขึ้นมาเป็นคนในเมือง กล่าวคือเราไม่เข้าใจ
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37